เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการเมืองการปกครองประเทศญี่ปุ่นมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานอุตสาหกรรมการผลิต รถยนต์คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีที่สุด ในปี พ.ศ. 2539 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ รถโดยสารขนาดใหญ่ และรถบรรทุก ประมาณ 10.3 ล้านคัน มากเป็นที่สองของการผลิตรถยนต์ของโลกญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำของโลกในอุปกรณ์โทรคมนาคม ย่านอะกิฮาบาระ ในโตเกียว เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ "เมืองแห่งเครื่องไฟฟ้า" ที่มีร้านรวงขายเครื่องไฟฟ้ายาวสุดลูกหูลูกตาสังคมวัฒนธรรมทุกวันนี้ ครอบครัวญี่ปุ่นส่วนมากมีบุตรเพียงหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น ผลก็คือ อายุเฉลี่ยของประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจำนวน 20.014 ล้านคน แต่มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 64 ปีถึง 18.261 ล้านคน ผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นอาศัยอยู่โดยลำพัง และคนหนุ่มสาวแต่งงานช้าลง อายุเฉลี่ยของการแต่งงานของผู้ชายคือ 29.8 ปี และของผู้หญิงคือ 27.3 ปี ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเหลือให้ทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่วัฒนธรรมญี่ปุ่นประกอบขึ้นจากการผสมกัน ระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่ วัฒนธรรม ทางตะวันตกและตะวันออก ทางด้านอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน ยังมีร่องรอยของความ เป็นประเทศกสิกรรม หลงเหลืออยู่ แม้ว่าความเจริญทางอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ผ่าน มาจะทำให้ญี่ปุ่นได้แปรสภาพ เป็นประเทศที่มี ความก้าวหน้า ทางด้านอุตสาหกรรม สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก
ข้อมูลจำเพาะ
สกุลเงินญี่ปุ่นใช้เงินสกุลเยน เงิน 100 เยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.5 บาท เงินเหรียญที่ใช้มีตั้งแต่ 1, 5 , 10 , 50 , 100 และ 500 เยนตามลำดับ ธนบัตรมีตั้งแต่ 1,000 , 2,000 , 5,000 และ 10,000 เยนที่ญี่ปุ่นมักชำระด้วยเงินสด แต่ในปัจจุบันมีห้างร้านที่รับชำระด้วยบัตรเครดิต อีกทั้งยังมีร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิต (บัตรเงินสดที่สามารถชำระเงินได้ ณ ธนาคาร หรือไปรษณีย์) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเช็คเงินสดนั้นปกติแล้วจะไม่ค่อยนิยมใช้กันมากเท่าใดนัก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทั่วโลกรู้จักกันในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าครองชีพสูงระบบไฟฟ้าญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 100 โวลท์ ซึ่งแตกต่างจากเมืองไทย ซึ่งใช้กระแสไฟ 220 โวลท์ ฉะนั้นหากจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ที่ญี่ปุ่น จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องแปลงระบบไฟฟ้า ( Adapter) ปลั๊กไฟส่วนใหญ่จะเป็นแบบสองขาแบน น้ำประปา น้ำประปาที่ญี่ปุ่นสามารถดื่มจากก๊อกน้ำได้เลย เนื่องจากผ่านการบำบัดให้ใช้ดื่มได้ แต่คนญี่ปุ่นโดยทั่วไปมักไม่ดื่มน้ำเปล่าจากก๊อกน้ำ น้ำเปล่าที่จำหน่ายโดยทั่วไปในร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่จะเป็นน้ำแร่ ( Mineral water) ซึ่งมีราคาสูง โทรศัพท์โทรศัพท์สาธารณะในญี่ปุ่นสามารถพบได้ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีทั้งแบบหยอดเหรียญและใช้บัตรโทรศัพท์ ค่าบริการโทรศัพท์ในญี่ปุ่นนั้นจะคิดต่อนาที โทรศัพท์ภายในประเทศคิดนาทีละ 10 เยน ไม่ได้คิดต่อการโทรหนึ่งครั้งเหมือนในประเทศไทย หากต้องการโทรศัพท์ทางไกลจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น กด 001 + รหัสประเทศญี่ปุ่น + รหัสเมือง (ไม่ต้องกดศูนย์ ) + หมายเลขโทรศัพท์ 8 หลัก เช่น โทรไปโตเกียว กด 001 + 81 + 3 + 12345678เวลาทั่วประเทศญี่ปุ่น อยู่ในรัศมีเส้นแบ่งเวลาเดียวกันตลอดทั้งประเทศ คือ 9 ชั่วโมงเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช เวลาที่ญี่ปุ่นเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ( แผนที่ )website : http://www.th.emb-japan.go.jp/เลขที่ 177 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทรศัพท์ : 0-2207-8500 0-2696-3000 โทรสาร : 0-2207-8510 เวลาทำการ 8.30-12.00 น. และ 13.30-18.00 น. แผนกกงสุล แผนกหนังสือเดินทางญี่ปุ่น ใบรับรอง : 0-2207-8501 0-2696-3001 แผนกคุ้มครองคนญี่ปุ่น : 0-2207-8502 0-2696-3002หมายเลขฉุกเฉิน (โทรศัพท์มือถือ) : 081-846-8265 081-809-6074 แผนกวีซ่า : 0-2207-8503 0-2696-3003 โทรสาร : 0-2207-8511 เวลาทำการ 8.30-11.45 น. และ 13.30-16.00 น. สำนักข่าวสารญี่ปุ่นโทรศัพท์ : 0-2207-8504 0-2696-3004 โทรสาร : 0-2207-8512 เวลาทำการ 8.30-12.00 น. และ 13.30-16.30 น. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ปิดทำการวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกงสุล สถานทูตญี่ปุ่น สามารถสอบถามได้ด้วยภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2259-0444, 0-2259-0725 และ 0-2258-9915
การขอวีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa)
ระเบียบการขอวีซ่าสำหรับ "Pre-college Student" ที่ได้รับใบสถานภาพการพำนัก 1.หนังสือเดินทาง (ในวันยื่นขอวีซ่ามีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน และมีหน้าที่ไม่มีตราประทับมาก กว่า 2 หน้าขึ้นไป หากมีหนังสือเดินทางเล่มเก่า กรุณานำมาแสดงด้วย) 2.ใบคำร้องขอวีซ่า( แบบฟอร์มของสถานทูตฯ หรือพิมพ์มาจากโฮมเพจของสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ) 1 ใบ 3.รูปถ่าย (ขนาด 2 x 2 นิ้ว สีหรือขาวดำ ที่มีพื้นหลังเป็นสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ไม่มีการแต่งภาพถ่าย จะต้องเป็นรูปถ่ายที่ชัดเจน และถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน ห้ามใช้รูปถ่ายที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอล) 1 ใบ ( หากรูปถ่ายไม่ได้มาตรฐานจะไม่สามารถรับคำร้องได้ ) 4.ใบสถานภาพการพำนัก(Certificate of Eligibility) ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 5.ทะเบียนบ้าน ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 6.หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร จากสถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษามาครั้งล่าสุด ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 7. กรณีที่เคยผ่านการทำงาน ให้แสดง หนังสือรับรองการผ่านงาน จากหน่วยงานที่เคยทำงานในอดีต ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 8. ผู้ที่เดินทางเป็นครั้งแรก หากเคยเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล หรือผู้ที่ได้เปลี่ยนชื่อตัว-สกุลหลังจากเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งที่แล้ว ให้เตรียม เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล เช่นใบเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ใบสำคัญการสมรส ใบจดทะเบียนหย่า ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 9. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้ยื่นคำร้อง) ฉบับจริงและสำเนาทุกหน้า 1 ชุดกรณีผู้รับภาระค่าใช้จ่ายซึ่งรวมค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ผู้ยื่นคำร้องและค่าใช้จ่ายทั้งหมดส่งมาจากประเทศไทย นอกจากเอกสารในข้อ 1 ถึง 8 แล้ว ให้เตรียมเอกสารของผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 10.หลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับผู้รับภาระค่าใช้จ่าย เช่นทะเบียนบ้าน หรือใบสำคัญการสมรสเป็นต้น ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 11.1 หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัทที่สังกัดของผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (ให้ระบุตำแหน่ง วันเริ่มทำงาน อัตราเงินเดือน) 11.2 กรณีที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ให้แสดง หนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์(เอกสารทุกอย่างจะต้องออกไม่เกิน 3 เดือน) ฉบับจริง 1 ชุด 12.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้รับภาระค่าใช้จ่าย) ฉบับจริงและสำเนาทุกหน้า 1 ชุด
หมายเหตุ:
1. หากเอกสารที่จัดเตรียมมาไม่ครบ ถูกต้องตามที่ระบุไว้ข้างต้น กรุณารับทราบด้วยว่าทางแผนกกงสุลฯ จะไม่สามารถรับคำร้องขอวีซ่าได้ 2. เอกสารอ้างอิงอื่นๆ อาจจะมีการขอเพิ่มเติมได้ ถ้าต้องการ จะแจ้งให้ทราบเป็นกรณีไป 3. รับคำร้องขอวีซ่า เปิดรับคำร้องขอวีซ่าในช่วงเช้าเวลา 8.00 - 11.45 น. เท่านั้น 4. สำหรับวันและเวลาในการคืนหนังสือเดินทาง(การฟังผลวีซ่า) สถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลในวันที่ยื่นคำร้อง กรุณาตรวจยืนยันวันที่คืนหนังสือเดินทางตามที่ระบุไว้ในใบนัดฟังผล โดยที่สถานทูตจะคืนหนังสือเดินทางให้ใช้เวลาเร็วที่สุดคือ อีกสองวันทำการถัดไปนับจากวันที่ยื่นคำร้องในเวลา 13.30-16.00 น. ในกรณีที่ได้รับการอนุมัติ วีซ่าจะติดในหนังสือเดินทาง
สำหรับผู้ยื่นที่ทางเจ้าหน้าที่คิดว่าอาจใช้เวลาพิจารณามากกว่าสองวันทำการถัดไป เช่น ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หรือตามวัตถุประสงค์ในการเดินทางหรือแล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในบางกรณีอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม, การสัมภาษณ์ผู้ยื่นขอวีซ่า หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบไปยังกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทางสถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลและระบุว่าให้รอ[ทางสถานทูตจะติดต่อทางโทรศัพท์ให้มาฟังผลในภายหลัง] ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจจะไม่สามารถพิจารณาวีซ่าได้ทันตามกำหนดการเดินทางที่ต้องการ ฉะนั้นกรุณายื่นขอวีซ่าล่วงหน้าหลายๆ วันก่อนการเดินทาง กรณีที่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากสถานทูตญี่ปุ่น หลังจากที่ยื่นวีซ่าไปแล้วเป็นเวลามากกว่า1สัปดาห์ ผู้ยื่นสามารถโทรศัพท์สอบถามได้โดยให้แจ้งหมายเลขใบนัดฟังผล(ตัวอักษรภาษาอังกฤษกับตัวเลข 5 หลัก) และหมายเลขบาร์โค้ด(ตัวเลข 8 หลัก) อนึ่ง กรุณารับทราบด้วยว่าการพิจารณาออกวีซ่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองวันทำการ จึงไม่สามารถออกวีซ่าให้ได้เร็วกว่านี้ตามคำร้องขอเป็นกรณีพิเศษ
เอกสารที่ใช้ประกอบ
(1) กรุณาระวังเกี่ยวกับเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอวีซ่าซึ่งจะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ถ้าเอกสารไม่ครบจะทำให้ไม่สามารถรับยื่นคำร้องได้และถึงแม้ว่าเอกสารที่ยื่นไว้จะครบสมบูรณ์ก็ตามไม่ได้ หมายความว่าทางสถานทูตจะพิจารณาออกวีซ่าให้เสมอไป (2)กรุณาเรียงลำดับเอกสารตามระเบียบการขอวีซ่าขณะยื่นคำร้อง (3) หากยื่นเอกสารปลอมหรือเท็จ ทางสถานทูต จะปฏิเสธการพิจารณาออกวีซ่า และถึงแม้ว่าเอกสารที่ยื่นไว้จะครบสมบูรณ์ก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการออกวีซ่าเสมอไป (4) โดยหลักการ เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องจะไม่คืนให้กับผู้ยื่น หากมี เอกสารใดๆก็ตามที่ต้องการขอคืนกรุณาแนบสำเนาและแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ขณะยื่นคำร้องทราบด้วย
อื่นๆ(1) สำหรับผู้ที่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อการพำนักอาศัยมากกว่า 90 วัน,การไปทำงานประเภทต่างๆ,ฝึกงานภาคปฏิบัติ,ศึกษาต่อมากกว่า3เดือน กรุณายื่นวีซ่าหลังจากได้รับ“ใบสถานภาพการพำนัก”จากกองตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่นแล้วเท่านั้นขั้น
ตอนในการดำเนินการขอใบสถานภาพการพำนัก กรุณาติดต่อสอบถาม โดยตรงที่ กองตรวจคนเข้าเมือง ประเทศญี่ปุ่น (เว็บไซต์กองตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่น http://www.immi-moj.go.jp/) (2) ในกรณีที่มีการยื่นขอวีซ่าเป็นหมู่คณะ คือมีวัตถุประสงค์และกำหนดการ เดินทางเหมือนกัน ขอแนะนำให้ยื่นวีซ่าพร้อมกันเป็นหมู่คณะไม่ควรแยกจากกัน (3) ในกรณีที่มีการปฏิเสธการออกวีซ่า ทางสถานทูตขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อธิบาย เหตุผล ถ้าต้องการยื่นวีซ่าอีกครั้งด้วยวัตถุประสงค์เดิม ไม่สามารถยื่นได้ ภายใน 6 เดือน หลังจากวันที่ได้รับการปฎิเสธวีซ่า (4) ขอแนะนำผู้ยื่นวีซ่า ให้ซื้อตั๋วเครื่องบินหลังจากทางสถานทูตอนุมัติวีซ่าแล้ว (ยกเว้นกรณียื่นวีซ่าทรานซิทเท่านั้น) ทางสถานทูตไม่สามารถรับผิดชอบใดๆได้ ในกรณีที่วีซ่าไม่ผ่านแต่ผู้ยื่นแจ้งว่าได้ซื้อตั๋วเครื่องบินก่อนแล้ว การอนุญาตให้ตัวแทนดำเนินการยื่นวีซ่าโดยหลักการผู้ยื่นต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง แต่ทางสถานทูตจะอนุญาตให้ผู้แทน (เช่นพนักงานของบริษัทที่ผู้ยื่นสังกัดอยู่ ญาติ และอื่นๆ) มาดำเนินการแทนได้เฉพาะกรณีดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ (1) ผู้ที่มีอายุไม่ถึง16 ปีบริบูรณ์หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นหรือผู้ทุพพลภาพ (2) ผู้ที่เดินทางด้วยวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ (3) ผู้ที่เคยได้รับวีซ่าและเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นมาแล้วภายในระยะเวลา5ปี นับจากวันที่ออกจากญี่ปุ่นครั้งล่าสุด(ตรวจสอบได้จากหนังสือเดินทางเท่านั้น) (4) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ (5) ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าที่เดินทางไปกับบริษัททัวร์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับทางสถานทูต อนึ่ง ผู้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย จะเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับประเทศหรือดินแดนในอาณัติซึ่งผู้ยื่นคำร้องพำนักอาศัยอยู่) กรุณาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกงสุล สถานทูตญี่ปุ่น สามารถสอบถามได้ด้วยภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2207-8503, 0-2696-3003 ค่าใช้จ่าย อัตราค่าธรรมเนียมวีซ่า ค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับคนไทย ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2008 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ วีซ่าทั่วไป 900 บาท วีซ่า Multiple 1,800 บาท (สำหรับการเดินทางหลายครั้ง) วีซ่าทรานซิท 220 บาท (สำหรับการเดินทางผ่าน) เวลาทำการของสถานทูต 08.00 น. – 12.00 น. (เปิดรับยื่นวีซ่า) เปิดรับคำร้องขอวีซ่าในช่วงเช้าจนถึงเวลา 11:15 น. เท่านั้น 13.30-16.00 น. (รับเล่ม)
วันสำคัญและวันที่ระลึกของประเทศญี่ปุ่น Special day of Japan
วันสำคัญของญี่ปุ่น วันที่ระลึกประหลาดๆ เป็นที่กล่าวขานกันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เก่งเรื่องการสร้างเทศกาลต่างๆ ทำให้ญี่ปุ่นมีวันสำคัญและวันที่ระลึกต่างๆที่แปลกประหลาดมากๆ เวลาบอกชื่อวันสำคัญหรือวันที่ระลึกของญี่ปุ่นให้คนประเทศอื่นฟัง เขาก็อาจจะงงได้ว่า มีวันแบบนี้ด้วยเหรอ ในบทความนี้จึงขอทำการเล่าสู่กันฟังว่าวันสำคัญและวันที่ระลึกต่างๆของญี่ปุ่นในปีๆนึงนั้นมีวันอะไรกันบ้าง และมีความสำคัญหรือความประหลาดอย่างไร ก่อนอื่นขอทำการแบ่งวันสำคัญของญี่ปุ่นออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการ (祝日) , 2. วันสำคัญที่ไม่ใช่วันหยุดแต่เป็นพิธีกรรม (行事) และ 3. วันที่ระลึกประหลาดๆ ((おもしろい)記念日) 1. วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการ (祝日) วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่น มีทั้งหมด 14 วันในญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการกำหนดวันสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมีความเห็นว่า หากมีวันหยุดในวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันจันทร์ จะทำให้การทำงานต่างๆขาดความต่อเนื่องได้ เพื่อส่งเสริมให้การทำงานต่างทั้งในส่วนราชการและเอกชนมีความต่อเนื่องมากที่สุด จึงตัดสินใจกำหนดวันสำคัญหลายๆวัน ให้เป็นวันจันทร์ ซึ่งจะทำให้มีวันหยุด 3 วันติดต่อกันคือ เสาร์ , อาทิตย์ และจันทร์ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าหยุดติดต่อกันหลายๆวันว่า Renkyuu (連休) หยุดติดต่อกัน 3 วัน ก็เรียกว่า 3連休 ใครที่สงสัยว่าทำไมญี่ปุ่นมีวันหยุดที่เป็นวันจันทร์เยอะจัง ก็คงหายสงสัยแล้วใช่ไหมครับ เป็นนโยบายส่งเสริมการทำงานของรัฐบาลนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการตัดวันสิ้นปี (New Year's Eve) นั่นคือวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ออกจากการเป็นวันหยุดราชการตั้งแต่ปี 2001 ด้วย
วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีดังนี้
01. วันขึ้นปีใหม่ (元旦 : อ่านว่า Gantan / ชื่อภาษาอังกฤษ : New Year's Day) ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันฉลองการเริ่มต้นของปี
02. วันบรรลุนิติภาวะ (成人の日 : อ่านว่า Seijin No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Coming of Age Day) ตรงกับ วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ของทุกปี ความสำคัญ: จนถึงปี 1999 วันบรรลุนิติภาวะ คือวันที่ 15 มกราคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันฉลองการบรรลุนิติภาวะของวัยรุ่นญี่ปุ่น เป็นวันที่ระลึกถึงการได้ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ของตนเอง ซึ่งต่อจากนี้จะต้องมีความพยายามและความรับผิดชอบต่างๆ และรู้จักวางแผนในชีวิตด้วยตนเอง หนุ่มสาวที่อายุครบ 20 ปี ในปีนั้น จะมีพิธีฉลองเกิดขึ้นที่อำเภอของเมืองที่ตนเองอยู่ด้วย เรียกว่า 成人式 (Seijin Shiki)
03. วันที่ระลึกการตั้งประเทศ (建国記念日 : อ่านว่า Kenkoku Kinenbi / ชื่อภาษาอังกฤษ : National Foundation Day) ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันระลึกถึงการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่น ส่งเสริมให้คนเกิดมีใจรักชาติ
04. วันวสันตวิษุวัต (春分の日 : อ่านว่า Shunbun No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : First Day of Spring / Vernal Equinox Day) ตรงกับประมาณวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งกลางวันจะเท่ากับกลางคืน เป็นวันสำหรับชื่นชมธรรมชาติ และเมตตาเอ็นดูต่อสิ่งมีชีวิต
05. วันสีเขียว (みどりの日 : อ่านว่า Midori No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Greenery Day) ตรงกับวันที่ 29 เมษายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันเกิดของจักรพรรดิองค์ก่อนในสมัยโชวะ (昭和時代) นั่นคือ จักรพรรดิโชวะ (昭和天皇) ปัจจุบันเป็นวันสำหรับระลึกถึงบุญคุณที่ธรรมชาติมีให้แก่มนุษย์
06. วันรัฐธรรมนูญ (憲法記念日 : อ่านว่า Kenpou Kinenbi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Constitution Day) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่ระลึกถึงการเริ่มใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ทำให้นึกถึงการเติบโตและพัฒนาของประเทศญี่ปุ่น
07. วันเด็ก (こどもの日 : อ่านว่า Kodomo No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Children's Day) ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่ฉลองความเป็นเด็ก และขอบคุณมารดา นอกจากนี้ยังเป็นวันเทศกาลเด็กผู้ชายด้วย (端午の節:TangoNo Sekku)
* หมายเหตุ วันหยุดยาวในช่วงนี้ คือช่วงราวๆวันที่ 3-5 พฤษภาคม เรียกกันว่า Golden Week (ゴールデンウィーク) ของญี่ปุ่น
08. วันแห่งทะเล (海の日 : อ่านว่า Umi No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Marine Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกรกฏาคม ของทุกปี ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 20 กรกฏาคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันแห่งการขอบคุณถึงบุญคุณของทะเล และอวยพรขอให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศแห่งมหาสมุทรเจริญรุ่งเรืองต่อไป
09. วันเคารพผู้สูงอายุ (敬老の日 : อ่านว่า Keirou No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Respect-for-senior-citizens Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ของทุกปี ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 17 กันยายนของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันแห่งการเคารพรักผู้สูงอายุที่อยู่ในสังคมมาหลายปี และฉลองความมีอายุยืนยาว
10. วันศารทวิษุวัต (秋分の日 : อ่านว่า Shuubun No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : First Day of Autumn / Autumnal Equinox Day) ตรงกับประมาณวันที่ 23 กันยายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งกลางวันจะเท่ากับการคืน เป็นวันสำหรับเคารพบรรพบุรุษ และระลึกถึงผู้คนที่เสียชีวิตไปแล้ว
11. วันแห่งกีฬา (体育の日 : อ่านว่า Taiiku No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Sports Day / Health Sports Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม ของทุกปี ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันที่ส่งเสริมให้คนรักกีฬาและมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
12. วันวัฒนธรรม (文化の日 : อ่านว่า Bunka No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Culture Day) ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันส่งเสริมให้คนรักอิสระเสรีภาพ และส่งเสริมวัฒนธรรม
13. วันขอบคุณแรงงาน (勤労感謝の日 : อ่านว่า Kinrou Kansha No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Labor Thanksgiving Day) ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันหยุดพักจากการทำงานมาตลอดปี ฉลองการผลิตที่ตนได้ทำ และส่งเสริมให้คนในประเทศญี่ปุ่นขอบคุณซึ่งกันและกัน
14. วันเกิดจักรพรรดิ์ (天皇誕生日 : อ่านว่า Tennou Tanjyoubi / ชื่อภาษาอังกฤษ : The Emperor's Birthday) ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันฉลองวันเกิดของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน
*หากวันหยุดราชการตรงกับวันอาทิตย์ วันถัดไป(วันจันทร์)จากวันนั้นจะเป็นวันหยุดราชการด้วย
2. วันสำคัญที่ไม่ใช่วันหยุดแต่เป็นพิธีกรรม (行事) วันเหล่านี้เป็นเทศกาลสำคัญต่างๆของญี่ปุ่น ที่ถือเป็นพิธีกรรม แต่ไมใช่วันหยุดราชการ
01. วันก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิ (節分 : อ่านว่า Setsubun) ตรงกับวันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่หว่านเมล็ดถั่วเพื่อกำจัดความชั่วร้าย และนำความสุขความโชคดีเข้าสู่ตนเอง
02. เทศกาลฮินะ (ひな祭り : อ่านว่า Hina Matsuri) ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นเทศกาลของเด็กผู้หญิงเพื่อฉลองการประดับตุ๊กตา
03. วันแม่ (母の日 : อ่านว่า Haha No Hi) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
04. วันพ่อ (父の日 : อ่านว่า Chichi No Hi) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี
05. วันทานาบาตะ (七夕の日 : อ่านว่า Tanabata No Hi) ตรงกับวันที่ 7 กรกฏาคม ของทุกปี) ความสำคัญ : เป็นวันประดับดวงดาว เนื่องจากตำนานที่ว่าในปีหนึ่งดาวคนเลี้ยงวัว (牽牛星 : Kengyuusei) จะมีพบกับดาวหญิงทอผ้า (女織星) ที่ทั้งสองข้างของฝั่งแม่น้ำสวรรค์ (ทางช้างเผือก) เพียงครั้งเดียว ซึ่งคือในวันนี้
06. โอบ้ง (お盆 : อ่านว่า Obon) ตรงกับวันที่ 13-16 สิงหาคมของทุกปีโดยประมาณ (ในบางพื้นที่คือวันที่ 13-16 กรกฏาคมของทุกปี) ความสำคัญ : เป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมาที่โลกนี้ในช่วงต้นของช่วงเวลา และกลับไปที่โลกเก่าอีกครั้งในช่วงปลายของช่วงเวลา ส่วนมากบริษัทต่างๆจะหยุดยาวเพื่อให้พนักงานกลับไปทำความเคารพหลุมศพของบรรพบุรุษของตนเองที่บ้านเกิด
07. เทศกาล 753 (七五三 : อ่านว่า Shichigosan) ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายนของทุกปี ความสำคัญ : เป็นเทศกาลฉลองการเติบโตของเด็กชายและหญิงอายุ 3 ขวบ , เด็กชายอายุ 5 ขวบ และเด็กหญิงอายุ 7 ขวบ
3. วันที่ระลึกประหลาดๆ ((おもしろい)記念日) วันที่ระลึกประหลาดๆมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งวันเหล่านี้ ที่ได้รับการบัญญัติอย่างเป็นทางการจากสมาคมวันที่ระลึกแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本記念日協会) แล้ว จึงขอทำการแนะนำวันที่น่าสนใจบางวันที่เลือกมาจากแต่ละเดือนดังนี้
01. วันแห่งภาพยนตร์ (映画の日 : Eiga No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนไปดูภาพยนตร์
02. วันแห่งการจราจรปลอดภัย (交通安全の日 : Koutsuu Anzen No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนขับรถอย่างปลอดภัย ไม่ขับรถด้วยความเร็ว
03. วันแห่งข้าว (お米の日 : Okome No Hi) ตรงกับวันที่ 8 และ 28 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ระลึกถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่น
04. วันแห่งความรัก , ความปรารถนา และความกล้าหาญ (愛と希望と勇気の日 : อ่านว่า Ai To Kibou To Yuuki No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เมื่อ 14 มกราคม 1959 เป็นวันที่เฮลิคอปเตอร์ที่บินออกจากเรือสังเกตุการณ์ขั้วโลกใต้ที่ชื่อ Souya (宗谷) ได้บินจอดถึงฐานทัพโชวะ และพบว่าสุนัขทหารที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ที่ฐานทัพเมื่อปีก่อนหน้าจำนวน 15 ตัว มีชีวิตรอเพียง 2 ตัว คือสุนัขชื่อ ทาโร่ และ จิโร่ (タロ・ジロ)
05. วันแห่งแกงกระหรี่ (カレーの日 : Curry No Hi) ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทำและรับประทานแกงกะหรี่
06. วันแห่งการปวดหัว (頭痛の日 : Zutsuu No Hi) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา :รณรงค์ไม่ให้คนทำอะไรมากเกินไปจนปวดหัว
07. วันแห่งชาเขียว (抹茶の日 : Maccha No Hi) ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มชาเขียวเพื่อสุขภาพ
08. วันแห่งนามสกุล (苗字の日 : Myouji No Hi) ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นที่ระลึกสำหรับการเริ่มใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีเมจิที่ 8
09. วันวาเลนไทน์ (バレンティンディー : Valentine's Day) และ วันแห่งชอกโกแล็ต (チョコレートの日 : Chocolate No Hi) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่สืบทอดมาจากต่างประเทศ ที่หนุ่มสาวจะให้ของขวัญแก่กันเพื่อแสดงความรัก สำหรับในญี่ปุ่น เป็นวันที่ผู้หญิงจะให้ชอกโกแล็ตแก่ผู้ชายเพื่อแสดงความรัก ซึ่งแพร่หลายขึ้นมาจากการโฆษณาของบริษัทผลิตชอกโกแล็ตของญี่ปุ่น สมาคมชอกโกแล็ตและโกโก้ (チョコレート・ココア協会) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นมาเป็นวันแห่งชอกโกแล็ตด้วย
10. วันแห่งแมว (猫の日 : Neko No Hi) ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เนื่องจากแมวที่ญี่ปุ่นร้องว่า ニャー、ニャー、ニャー ขึ้นต้นด้วยคันจิที่เหมือนกับเลข 2 ด้วยกัน 3 อัน วางเรียงกันได้เป็น 222 ซึ่งแปลงเป็นวันที่ได้วันที่ 2/22
11. วันแห่งบันไดเลื่อน (エスカレータの日 : Escalator No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่มีการใช้บันไดเลื่อนขึ้นที่ห้างมิตสึโกชิ (三越) สาขา นิฮงบาชิ (日本橋) ในวันที่ 9 มีนาคม ปีไทโช ที่ 3
12. วันสีขาว (ホワイトディー : White Day) และ วันแห่งลูกกวาด (キャンディの日 : Candy No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่มีคู่กับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ชายให้ของตอบแทนแก่ผู้หญิงที่ให้ชอกโกแล็ตกับตนในวันวาเลนไทน์ โดยสิ่งของที่ให้จะต้องเป็นสีขาว ทางสมาคมลูกกวาดแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国飴菓子工業協同組合) ต้องการรณรงค์ให้คนให้สิ่งของเป็นลูกกวาด จึงตั้งวันนี้เป็นวันแห่งลูกกวาด (キャンディの日)
13. วันแห่งซากุระ (さくらの日 : Sakura No Hi) ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : สมาคมซากุระแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本さくらの会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการบานของดอกซากุระ ที่โดยเฉลี่ยจะบานเต็มที่ในวันนี้มากที่สุด
14. วันแห่งกระเทย (オカマの日 : อ่านว่า Okama No Hi) ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่อยู่ระหว่างกลางของวันเทศกาลลูกท้อ (桃の節句 : Momo No Sekku) เป็นวันสำหรับเด็กผู้หญิง ซึ่งคือวันที่ 3 มีนาคม (3/3) และวันเทศกาลเด็กผู้ชาย (端午の節句 : Tango No Sekku) ซึ่งคือวันที่ 5 พฤษภาคม (5/5) จึงตั้งวันที่อยู่กึ่งกลางนั่นคือวันที่ 4 เมษายน (4/4) เป็นวันสำหรับคนครึ่งหญิงครึ่งชาย นั่นคือกระเทย (คำว่า Okama แปลว่า กระเทย)
15. วันแห่งเซนต์จอร์ดี้ (サン・ジョルディの日 : St.Jordi's Day) ตรงกับวันที่ 23 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้หนังสือเป็นของขวัญแก่ผู้ชาย ซึ่งเกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหวของวงการสิ่งพิมพ์เมื่อปี 1987 โดยมีที่มาจากประเพณีของประเทศสเปน ในย่านบาร์เซโลน่า เพื่อต้องการชื่นชมนักรบเทพผู้ปกป้องเมืองชื่อ เซนต์ จอร์ดี้ ด้วยประเพณีที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้ของแก่ผู้ชาย
16. วันแห่งขยะ (ゴミの日 : Gomi No Hi) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทิ้งขยะโดยแยกชนิดของขยะอย่างถูกต้อง
17. วันแห่งนาโกย่า (名古屋の日 : Nagoya No Hi) ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ที่ทำการเมืองนาโกย่าตั้งวันนี้ขึ้นมาเมื่อปี เฮเซ ที่ 8 เป็นช่วงเทศกาลนาโกย่า (名古屋祭り)
18. วันแห่งการท่องเที่ยว (旅の日 : Tabi No Hi) ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น
19. วันแห่งรูปถ่าย (写真の日 : Shashin No Hi) ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : สมาคมรูปถ่ายแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本写真協会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการถ่ายรูป
20. วันแห่งนม (ミルクの日 : Milk No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มนม
22. วันแห่งเรือเหาะตีลังกา (ジェットコースターの日 : Jet Coaster No Hi) ตรงกับวันที่ 9 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่มีเรือเหาะตีลังกาติดตั้งในสวนสนุกที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 30
23. วันแห่งแฮมเบอร์เกอร์ (ハンバーガーの日 : Hamberger No Hi) ตรงกับวันที่ 20 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 20 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 46 เป็นวันแรกที่มีร้าน แมคโดนัล เปิดขึ้นในญี่ปุ่น ที่ชั้นหนึ่งของห้างมิทสึโกชิ (三越) ในย่านกินซ่า
24. วันแห่งหมากรุกญี่ปุ่น (マージャンの日 : Majyan No Hi) ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนเล่นหมากรุกญี่ปุ่น (麻雀)
25. วันแห่งคนอ้วน (デブの日 : Debu No Hi) ตรงกับวันที่ 8 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่ระลึกสำหรับคนอ้วน
26. วันแห่งเนื้อย่าง (焼肉の日 : Yakiniku No Hi) ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทานเนื้อย่าง ตั้งโดยสมาคมเนื้อย่างแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国焼肉協会)
27. วันแห่งผัก (野菜の日 : Yasai No Hi) ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทานผัก
28. วันเกิดโดราเอม่อน (ドラえもんの誕生日 : Doraemon No Tanjyoubi) ตรงกับวันที่ 3 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่การ์ตูนเรื่องโดราเอม่อนถูกเขียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน ปีโชวะที่ 45
29. September Valentine's Day (セプテンバーバレンタイン) ตรงกับวันที่ 14 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : วันครบครึ่งปีพอดีหลังจากวัน White Day (14 มีนาคม) ซึ่งหากผู้ชายถูกผู้หญิงที่ตนตกลงยอมรับความรักเลิกในวันนี้ ก็จะถือว่าไม่เป็นอะไร
30. วันแห่งเหล้าญี่ปุ่น (日本酒の日 : Nihonshu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มเหล้าญี่ปุ่น
31. วันแห่งสุนัข (犬の日 : Inu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมให้คนรักและระลึกถึงสุนัข
32. วันแห่งอพาร์ตเม้นท์ (アパートの日 : Apartment No Hi) ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 6 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 43 เป็นวันแรกที่มีอพาร์ตเม้นท์ตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในย่านอุเอโนะ (上野) ในโตเกียว
33. วันป๊อกกี้และปริทซ์ (ポッキー&プリッツの日 : Pocky&PRETZ No Hi) ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : กูลิโกะ บริษัทผลิต ป๊อกกี้และปริทซ์ ตั้งวันป๊อกกี้และปริทซ์ ขึ้นมาเมื่อ ปีเฮเซที่ 11 เดือน 11 วันที่ 11 หากนำวันและเดือนและปี มาเขียนเรียงติดกัน ก็จะได้เป็น 111111 ซึ่งเหมือนกับแท่งป๊อกกี้และปริทซ์ 6 แท่ง ในโฆษณาของป๊อกกี้เอง ก็มีการโชว์แท่งป๊อกกี้ 4 แท่งในมือของพรีเซนเตอร์ด้วย (เพราะว่าปีเฮเซที่ 11 เลยมาแล้ว) จุดประสงค์ที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา คงไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการส่งเสริมการขายป๊อกกี้ มีการจัดแคมเปญต่างๆเกี่ยวกับป๊อกกี้และปริทซ์ในวันที่11/11 ของทุกๆปีด้วย
34. วันแห่งโรงแรม (ホテルの日 : Hotel No Hi) ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 20 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 23 เป็นวันแรกที่ Teikoku Hotel (帝国ホテル) โรงแรมแห่งแรกในญี่ปุ่นเปิดให้ใช้บริการ
35. วันแห่งไก่ทอด (フライドチキンの日 : Fried Chicken No Hi) ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 21 พฤศจิกายน ปีโชวะที่ 45 เป็นวันแรกที่มีร้านไก่ทอด เคนตักกี้ เปิดในญี่ปุ่น ที่นาโกย่า
36. วันแห่งโซบะ (そばの日 : Soba No Hi) ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีประเพณีการทานโซบะข้ามปี (年越しそば : Toshikoshi Soba) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นเป็นวันรณรงค์การทานโซบะ
ที่มา