วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

Butterfly of Thailand

glitter graphics,hi5,code hi5


ผีเสื้อกลางคืน

วงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว (Hawk Moths) Family Sphingidae ขนาด: กลาง - ใหญ่ ลักษณะนิสัย: จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0

วงศ์ผีเสื้อจักรพรรดิ์ หรือ ผีเสื้อยักษ์ (Emperor Moths) Family Saturniidae ขนาด: ใหญ่มาก - ใหญ่ที่สุดในโลก ลักษณะนิสัย: จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0

วงศ์ผีเสื้อนกเค้า หรือ ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Owl Moths) Family Noctuidae ขนาด: เล็ก - ใหญ่มาก ลักษณะนิสัย: จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >25,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0

วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ Family Geometridae ขนาด: กลาง - ใหญ่ ลักษณะนิสัย: จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >15,000 ประเทศไทย: - 2T4U.com: 0



ผีเสื้อกลางวัน




วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Skippers) Family Hesperiidae ขนาด: เล็ก - กลาง ลักษณะนิสัย: มีหลายวงศ์ย่อยนิสัยแตกต่างกัน ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายคลึงกับผีเสื้อกลางคืนมาก ปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม เล็กและสั้น บินเร็วมาก มักมองตามไม่ค่อยทัน หัวโต ตากลม และมีขนปกคลุมค่อนข้างมาก ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว ปลายหนวดมักโค้งงุ้มลงเล็กน้อย ลำตัว: อวบสั้น
จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >3,658 ประเทศไทย: >273 2T4U.com: 3


วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน Family Lycaenidae ขนาด: เล็กมาก - กลาง ลักษณะนิสัย: ขณะลงเกาะมักจะหุบปีกตั้งตรง นิ่ง และมักจะยกด้านท้ายให้สูงกว่า ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็ก ปีกบนมีสีออกโทน น้ำเงิน ฟ้า เขียว หรือ ทองแดง หลายชนิดที่ปลายปีกคู่หลังจะจุดสีดำ และหางยื่นออกมาคล้ายหนวด เพื่อลวง ศัตรู ให้คิดว่าเป็นส่วนหัว เพศเมียขาทั้ง 3 คู่ สมบูรณ์ ส่วนเพศผู้ขาคู่หน้า มีขนาดเล็กกว่าปกติ หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว ยาวสมส่วน จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >6,564 ประเทศไทย: >369 2T4U.com: 7



วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family Nymphalidae ขนาด: เล็ก - ใหญ่ ลักษณะนิสัย: เนื่องจากมีหลายวงศ์ย่อย และแต่ละวงศ์ย่อยก็มีนิสัยเฉพาะ ผีเสื้อในวงศ์นี้มีหลายวงศ์ย่อย และค่อนข้างหลากหลายมาก ทั้งสีสัน และรูปทรง ของปีก แต่จุดสังเกตุหลักคือผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาที่สมบูรณ์เพียง 2 คู่เท่านั้น โดยขาคู่หน้าจะหดสั้นลงเหลือเพียงก้านเล็กๆ และมีขนปกคลุมอยู่ เป็นที่มาของชื่อวงศ์ หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว ตรง บางวงศ์ย่อยปลายหนวดจะงุ้มลง ลำตัว ยาวสมส่วน จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >7,461 ประเทศไทย: >367 2T4U.com: 25

วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง Family Papiliondae ขนาด: กลาง - ใหญ่ ลักษณะนิสัย: ส่วนใหญ่พบอยู่โดดๆ ไม่ค่อยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ บินได้นานและเร็ว ขณะลงเกาะมักจะขยับปีกอยู่ตลอดเวลา พบเห็นได้ง่ายเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีขนาดใหญ่ และมีหางยื่นออกมาจากปีกคู่หลัง อันเป็นที่มาของ ชื่อวงศ์ โดยที่หางก็จะมีรูปร่างต่างกันออกไป ขาทั้ง 3 คู่ เรียวยาวสมบูรณ์ใช้งานได้ ตามปกติ ปีกใหญ่ หนวด:รูปก้านไม้ขีด ยาว และมักจะงอนชี้ขึ้นด้านบน ลำตัว:เพรียวยาว จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >572 ประเทศไทย: >64 2T4U.com: 2

วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ Family Pieridae ขนาด: กลาง - ใหญ่ ลักษณะนิสัย: มักรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ โดยรวมกลุ่มกันลงกินอาหารตามพื้นดิน แฉะๆ หลายชนิดชอบบินอพยพย้ายถิ่นหากินเป็นกลุ่มๆ ชอบบินเนิบๆ ไม่รีบร้อน ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีโทนสีพื้น ขาว เหลือง ครีม ส้ม เป็นหลัก ปีกคู่หลังโค้งมน ไม่มีรอยเว้าหยัก หรือมีติ่งยื่นออกไปเป็นพิเศษ ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว: ยาวสมส่วน จำนวนชนิด: ทั่วโลก: >1,222 ประเทศไทย: >58 2T4U.com: 4


จตุวัฏจักร
การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
ระยะไข่ (Egg Stage)
ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว

ระยะไข่
ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้

ระยะหนอน
ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน

ระยะดักแด้
เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

ระยะเจริญวัย
ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย

ธรรมชาติของผีเสื้อ
ผีเสื้อเป็นสัตว์ปีกที่ชอบแสงอาทิตย์และอากาศที่เย็นสบาย เรามักเห็นมันบินวนเวียนตามดอกไม้อยากสนุกสนาน อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อนหรือเหน็ดเหนื่อย การที่มันบินคละเคล้าเกสรดอกไม้อยู่เช่นนี้เพราะมันต้องการน้ำหวานจากดอกเกสรเป็นอาหารและช่วยดอกไม้ในการผสมพันธุ์ไปในตัว
ในการสืบพันธุ์ของผีเสื้อนั้น นักชีววิทยาได้พบว่าผีเสื้อตัวผู้มักจะสนใจผีเสื้อตัวเมียที่มีปีกสีเดียวกันและเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วในเวลาอีกไม่นานมันก็จะวางไข่ตามใบพืชที่เหมาะสมเพื่อจะได้เป็นเสบียงให้ตัวหนอนของมัน โดยมันจะวางไข่ใต้ใบไม้เป็นกลุ่มๆ ไข่ผีเสื้อตามปกติจะมีสารเหนียวสำหรับยึดติดใบไม้ไข่มีสีและขนาดแตกต่างตามวงศ์ของผีเสื้อ หลังจากวางไข่ได้ 2-3 วัน หนอนในไข่ผีเสื้อจะปรากฏตัวและอีก 5-10 วันต่อมาหนอนก็จะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกแล้วกินเปลือกไข่ตนเองเป็นอาหารเมนูแรก จากนั้นมันก็จะกินผีเสื้อจำนวนมา หนอนก็จะสร้างความเสียหายให้แก่พืชมาก เมื่อหนอนเติบโตเต็มที่มันจะขับใยเหนียวๆ ออกมาห่อหุ้มตัว กระบวนการปกป้องตัวเองเช่นนี้จะใช้เวลานานประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นหนอนก็จะกลายเป็นดักแด้ที่ไม่ต้องการอาหารอะไรหรือทำอะไรเลย มันจะมุดตัวอยู่แต่ในเกราะและจะใช้เวลา 7-10 วันในการเปลี่ยนรูปร่างจนกลายเป็นผีเสื้อ และเมื่อผีเสื้อโผล่จากตัวดักแด้ใหม่ๆ มันยังบินไม่ได้เพราะปีกของมันยังไม่แข็งแรง แต่เมื่อปีกแห้งมันก็บินได้และผสมพันธุ์ได้ทันที




ที่มา: http://oho.ipst.ac.th/Bookroom/snet4/july8/butrfy.htm,