วันจันทร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มี 21 สะพาน ตัวเลขความสูงคือความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในวงเล็บคือวันเปิดการจราจร เรียงตามตัวอักษร ดังนี้
1 .สะพานกรุงธน หรือ สะพานซังฮี้ ถ.ราชวิถี เชื่อมเขตดุสิต-เขตบางพลัด (7 มี.ค. 2500) ความยาวสะพาน 366.20 เมตร สูง 7.50 เมตร
2.สะพานกรุงเทพ เชื่อมสี่แยก ถ.ตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร-สี่แยกบุคคโล ทางฝั่งธนบุรี (25 มิ.ย. 2502) ความยาวสะพานช่วงกลางน้ำ 226 เมตร สูง 7.50 เมตร
3.สะพานกาญจนาภิเษก ส่วนหนึ่งของถ.กาญจนาภิเษก (ช่วงทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์) ข้ามท้องที่ ต.บางจาก เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง-ต.บางหัวเสือเขตเทศบาล ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ (15 พ.ย. 2550) สูง 52 เมตร เป็นสะพานขึงที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศคือ 500 เมตร
4.สะพานนครนนทบุรี เชื่อมพื้นที่ต.บางกร่าง และต.บางศรีเมือง-ต.สวนใหญ่ และ ต.ตลาดขวัญ อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในปี 2554 ความยาวสะพาน 500 เมตร สูง 9 เมตร
5.สะพานนนทบุรี หรือ สะพานนวลฉวี ข้ามแยกสวนสมเด็จ-แยกบางคูวัด (24 มิ.ย. 2502) ความยาวสะพาน 260.20 เมตร สูง 7.50 เมตร
6.สะพานปทุมธานี ส่วนหนึ่งของถ.ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-บางเลน (23 ก.ย. 2527) สูง 7.80 เมตร ความยาวสะพาน 239.10 เมตร
7.สะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี เชื่อมถ.รัตนาธิเบศร์ (23 ก.ค. 2528) สูง 7.40 เมตร ความยาวสะพาน 329.10 เมตร
8.สะพานพระนั่งเกล้าใหม่ อยู่ด้านเหนือของสะพานพระนั่งเกล้าเดิม เชื่อมต่อกับช่องทางหลักของ ถ.รัตนาธิเบศร์ อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. 2551 ความยาวสะพาน 2 กิโลเมตร เป็นสะพานคอนกรีตบล็อกที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในโลก สูง 16.40 เมตร
9.สะพานพระปกเกล้า เคียงขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า (3 ธ.ค.2527) ความยาวสะพาน 348.20 เมตร สูง 8.90 เมตร
10.สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปลายถ.ตรีเพชร (6 เม.ย. 2475) ความยาวสะพาน 229.76 สูง 7.50 เมตร
11.สะพานพระราม 3 เชื่อมถ.รัชดาภิเษกฝั่งธนบุรี-ถ.พระรามที่ 3 ฝั่งพระนคร (30 มี.ค. 2543) สูง 34 เมตร เป็นสะพานคอนกรีตที่มีช่วงกลางยาวที่สุดของประเทศคือ 226 เมตร และเป็นอันดับที่ 17 ของโลก
12.สะพานพระราม 4 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือของเกาะเกร็ด เชื่อมต.บางตะไนย์-ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนว ถ.แจ้งวัฒนะ (8 ธ.ค. 2549) สูง 5.60 เมตร ความยาวสะพาน 278 เมตร
13.สะพานพระราม 5 ตั้งอยู่บริเวณวัดนครอินทร์ อ.เมือง นนทบุรี เชื่อมต่อกับถ.ติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ (21 มิ.ย. 2545) ความยาวสะพาน 939 เมตร สูง 7.90 เมตร
14.สะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างเขตบางซื่อ-เขตบางพลัด ความยาวสะพาน 443.60 เมตร บนสะพานข้างหนึ่งเป็นทางรถไฟ สูง 10 เมตร (1 ม.ค. 2469 และเปิดใหม่เมื่อบูรณะหลังถูกระเบิดเสียหายช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 12 ธ.ค. 2496)
15.สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางซื่อ-อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (23 ก.ย. 2535) ความยาวสะพาน 934 เมตร สูง 5.50 เมตร
16.สะพานพระราม 8 เชื่อมต่อโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถ.บรมราชชนนี ผ่านถ.อรุณอมรินทร์ ข้ามแม่น้ำไปบรรจบ ถ.วิสุทธิกษัตริย์ (20 ก.ย. 2545) สูง 11.50 เมตร ความยาวสะพาน 300 เมตร ยาวที่สุดในโลกในประเภทสะพานขึงแบบอสมมาตรกับทางยกระดับ ไม่มีเสาหรือตอม่อกลางน้ำ
17.สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานครสายดาวคะนอง-ท่าเรือ เชื่อมเขตยานนาวา-เขตราษฎร์บูรณะ (5 ธ.ค. 2530) สูง 41 เมตร ความยาวสะพาน 782 เมตร เป็นสะพานขึงแห่งแรกของไทยและมีช่วงกลางยาวที่สุดในโลก
18.สะพานพระราม 9 (2) คู่ขนานสะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง เป็นสะพานคู่แฝดของสะพานพระราม 9 ขนาดความยาวและสูงจึงเท่ากัน
19.สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อม ต.ทรงคนอง-ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ (20 ก.ย. 2549) สูง 50 เมตร ความยาวสะพาน 398 เมตร
20.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อม ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าเขตพระนคร-เขตบางพลัดและบางกอกน้อย (24 ก.ย. 2516) ความยาวสะพาน 622 เมตร สูง 11.50 เมตร
21.สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สะพานสาทร เชื่อมถ.สาทรเขตสาทร และบางรัก-ถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน (6 พ.ค.2525) ความยาวสะพาน 224 เมตร สูง 12 เมตร

ที่มา:http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=8772

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

Hot Keys สำหรับ Microsoft Word

CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด
CTRL + B = Bold ตัวหนา
CTRL + C = Copy คัดลอก
CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร
CTRL + E = Center ตรงกลาง
CTRL + F = Find ค้นหา
CTRL + G = Goto ไปที่
CTRL + H = Replace แทนที่
CTRL + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ
CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ
CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย
CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง
CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่
CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่
CTRL + P = Print พิมพ์
CTRL + Q = Reset Paragraph ตั้งค่าย่อหน้าใหม่
CTRL + R = Right จัดชิดขวา
CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก)
CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ)
CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + V = Paste วาง
CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม
CTRL + X = Cut ตัด
CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ
CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด
CTRL + SHIFT + A = All Caps ทำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (สำหรับภาษาอังกฤษ)
CTRL + SHIFT + B = Bold ตัวหนา
CTRL + SHIFT + C = Copy Format คัดลอกรูปแบบ
CTRL + SHIFT + D = Double Underline ขีดเส้นใต้ 2 เส้น
CTRL + SHIFT + E = Revision Mark Toggle สลับการทำเครื่องหมายรุ่นเอกสาร
CTRL + SHIFT + F = Fonts Name Select เลือกชื่อแบบอักษร
CTRL + SHIFT + G = Word count นับจำนวนคำ
CTRL + SHIFT + H = Hidden ซ่อน
CTRL + SHIFT + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + SHIFT + J = Thai Justify จัดคำแบบไทย
CTRL + SHIFT + K = Small Caps ทำอักษรตัวพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แบบเล็กๆ
CTRL + SHIFT + L = Apply List Bullet ใช้เครื่องหมายหน้าข้อ
CTRL + SHIFT + M = Unindent ลดระยะเยื้อง
CTRL + SHIFT + N = Normal Style ใช้ลักษณะแบบปกติ
CTRL + SHIFT + O = N/A
CTRL + SHIFT + P = Font Size Select เลือกขนาดแบบอักษร
CTRL + SHIFT + Q = Symbol Font ใช้แบบอักษรสัญลักษณ์
CTRL + SHIFT + R = Recount Words นับคำใหม่
CTRL + SHIFT + S = Style กำหนดลักษณะ
CTRL + SHIFT + T = Unhang ไม่แขวนภาพ
CTRL + SHIFT + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + SHIFT + V = Paste Format วางรูปแบบ
CTRL + SHIFT + W = Word Underline ขีดเส้นใต้เฉพาะคำ
CTRL + SHIFT + X = N/A
CTRL + SHIFT + Y = N/A CTRL + SHIFT + Z = Reset Character ตั้งค่าแบบอักษรใหม่
CTRL + ALT + A = N/A CTRL + ALT + B = N/A CTRL + ALT + C = Copyright sign ((c)) สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์
CTRL + ALT + D = N/A CTRL + ALT + E = Euro Sign (?) สัญลักษณ์เงินยูโร
CTRL + ALT + F = Insert Footnote Now แทรกหมายเหตุ
CTRL + ALT + G = N/A
CTRL + ALT + H = N/A
CTRL + ALT + I = Print Preview ตัวอย่างก่อนพิมพ์
CTRL + ALT + J = N/A
CTRL + ALT + K = Auto Format จัดรูปแบบอัตโนมัติ
CTRL + ALT + L = Insert List Number แทรกเลขลำดับหน้าข้อ
CTRL + ALT + M = Insert Annotation แทรกคำอธิบาย
CTRL + ALT + N = Normal View มุมมองปกติ
CTRL + ALT + O = Outline View มุมมองแบบร่าง
CTRL + ALT + P = Page View มุมมองเหมือนพิมพ์
CTRL + ALT + Q = N/A
CTRL + ALT + R = Registered sign สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
CTRL + ALT + S = Document Split แยกเอกสาร
CTRL + ALT + T = Trade Mark sign (?) สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า
CTRL + ALT + U = Update Auto Format for Table ปรับปรุงการจัดรูปแบบอัตโนมัติในตาราง
CTRL + ALT + V = Insert Auto Text แทรกข้อความอัตโนมัติ
CTRL + ALT + W = N/A
CTRL + ALT + X = N/A
CTRL + ALT + Y = Repeat find ค้นหาเพิ่มเติม
CTRL + ALT + Z = Go back ย้อนกลับ
CTRL + < = Decrease Font size by step ลดขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + > = Increase Font size by step เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + [ = Decrease Font size by point เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + ] = Increase Font size by point ลดขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + - = Optional Hyphen แทรกยัติภังค์
CTRL + _ = Non Breaking Hyphen แทรกยัติภังค์แบบไม่แบ่งคำ
CTRL + = = Sub Script ตัวห้อย
CTRL + + = Super Script ตัวยก
CTRL + = Toggle Master sub documemt สลับไปมาระหว่างเอกสารหลักและเอกสารย่อย
CTRL + , = Prefix Keys กำหนดแป้นพิมพ์

@ สัญลักษณ์นี้มีที่มา?


@ สัญลักษณ์นี้มีที่มา?

เรย์ ทอมลินสัน วิศวกรคอมพิวเตอร์ ได้รับการบันทึกว่า เป็นบุคคลแรกที่นำ @ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ
ชื่ออีเมล ในปี 1971 เพียงเพราะเขาต้องการหาสัญลักษณ์บางอย่างบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแน่ใจว่าจะไม่มีปรากฏในชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง โดยหลังจากนั้นมา การใช้ @ (arroba) ในชื่ออีเมลเพื่อบอกสังกัดอีเมลของผู้ใช้ก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ทว่า หากจะถามถึงที่มาของ @ ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอีเมลนั้น ไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า ใครเป็นคนแรกที่นำมาใช้ เนื่องจาก มีหลากหลายทฤษฎีอธิบายเอาไว้แตกต่างกันออกไป ทฤษฎีแรกนั้นสันนิษฐานว่า @ ปรากฏให้เห็นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในยุคกลางของยุโรป ซึ่งในสมัยนั้นคนยุโรปจะชอบเขียนตัวหนังสือแบบลากหางของตัวอักษรขึ้นหรือลงยาวๆ ซึ่งตัว @ มาจาก a นั่นเอง ขณะที่ อีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไประบุว่า @ มาจากคำว่า 'ad' ซึ่งเป็นคำบุพบทในภาษาลาติน หมายถึง "ที่" ในทำนองเดียวกัน ก็มีอีกแนวคิดที่คล้ายๆ กันอธิบายว่า @ เป็นตัวย่อของ 'ana' (ava) คำบุพบทในภาษากรีก ซึ่งมีหมายความว่า ในอัตรา...(ตามด้วยคำบอกจำนวน) โดยมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในเชิงการพาณิชย์ ทว่าจากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของ จิออร์จิโอ สตาบิล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์จากโรม มีการเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับที่มาของ @ โดยเขาอ้างว่า สัญลักษณ์ดังกล่าว เคยมีร่องรอยปรากฏให้เห็นตั้งแต่สมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี ในเอกสารการค้าแห่งเวนิส ซึ่งลงนามโดย ฟรานเซสโก ลาปี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1536 เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายไวน์ โดย @ ที่ปรากฏในเอกสารนี้มีความหมายว่า โถ หรือ เหยือก ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุไวน์ในสมัยนั้น อาทิเช่น @ of wine หมายถึง ไวน์ 1 เหยือก เป็นต้น สัญลักษณ์ @ ที่พบว่ามีการใช้อย่างแพร่หลายในตะวันตก มีที่มาจาก à ซึ่งเป็นบุพบทในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง "ที่" ทว่าเมื่อนำมาใช้ในเชิงการค้าจะหมายถึง "ราคาชิ้นละ..." ตัวอย่างเช่น 2 books@ 10 F. หมายถึง หนังสือ2 เล่ม ราคาเล่มละ 10 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีหลากหลายทฤษฎีที่อธิบายที่มาที่ไปของการใช้ @ มาตั้งแต่อดีตแล้ว แต่การใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวเพิ่งจะได้รับความนิยมสุดๆ ในแวดวงคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันนี่เอง


วันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

เคล็ดลับการตั้งชื่อ

วิธีตั้งชื่อที่เป็นมงคล ตามหลักโหราศาสตร์ แบบดูดวงชะตา ที่ใช้ วันเดือน ปี เวลา และจังหวัดที่เกิด มาคำนวณนั้นมีวิธี การตั้งชื่อเพื่อเสริมดวงชะตาแต่โดยทั่วไป จะอาศัยปูมทักษาพยากรณ์เข้าประกอบ โดยเรียงตามลำดับว่า บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี ความหมายก็คือ
บริวาร หมายถึง มีบารมี มีผู้รับใช้ มีผู้คอยช่วยเหลือ
อายุ หมายถึง อายุขัย
เดช หมายถึง อำนาจ อิทธิพล
ศรี หมายถึง สิ่งที่เป็นศิริมงคล
มูลละ หมายถึง ทรัพย์สมบัติ มรดก
อุตสาหะ หมายถึง มีความขยันหมั่นเพียรพยายาม เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ
มนตรี หมายถึง ผู้อุปการะ ผู้อุปถัมภ์ ผู้ให้คำปรึกษา
กาลกิณี หมายถึง สิ่งที่เป็นอัปมงคล เป็นเสนียดจัญไร สิ่งไม่ดีที่นำความทุกข์มาให้ ภูมิพยากรณ์ในแต่ละวันเป็นดังนี้

ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ มี อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูลละ พฤหัสเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี ศุกร์เป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันจันทร์ มี จันทร์เป็นบริวาร อังคารเป็นอายุ พุธเป็นเดช เสาร์เป็นศรี พฤหัสเป็นมูลละ ราหูเป็นอุตสาหะ ศุกร์เป็นมนตรี อาทิตย์เป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันอังคาร มี อังคารเป็นบริวาร พุธเป็นอายุ เสาร์เป็นเดช พฤหัสเป็นศรี ราหูเป็นมูลละ ศุกร์เป็นอุตสาหะ อาทิตย์เป็นมนตรี จันทร์เป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันพุธกลางวัน มี พุธเป็นบริวาร เสาร์เป็นอายุ พฤหัสเป็นเดช ราหูเป็นศรี ศุกร์เป็นมูลละ อาทิตย์เป็นอุตสาหะ จันทร์เป็นมนตรี อาทิตย์เป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน(ราหู) มี ราหูเป็นบริวาร ศุกร์เป็นอายุ อาทิตย์เป็นเดช จันทร์เป็นศรี อังคารเป็นมูลละ พุธเป็นอุตสาหะ เสาร์เป็นมนตรี พฤหัสเป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันพฤหัส มี พฤหัสเป็นบริวาร ราหูเป็นอายุ ศุกร์เป็นเดช อาทิตย์เป็นศรี จันทร์เป็นมูลละ อังคารเป็นอุตสาหะ พุธเป็นมนตรี เสาร์เป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ มี ศุกร์เป็นบริวาร อาทิตย์เป็นอายุ จันทร์เป็นเดช อังคารเป็นศรี พุธเป็นมูลละ เสาร์เป็นอุตสาหะ พฤหัสเป็นมนตรี ราหูเป็นกาลกิณี
ผู้ที่เกิดวันเสาร์ มี เสาร์เป็นบริวาร พฤหัสเป็นอายุ ราหูเป็นเดช ศุกร์เป็นศรี อาทิตย์เป็นมูลละ จันทร์เป็นอุตสาหะ อังคารเป็นมนตรี พุธเป็นกาลกิณี
อักษรที่ประจำปูมทักษาพยากรณ์ มีดังนี้
อาทิตย์ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
จันทร์ ก ข ค ฆ ง
อังคาร จ ฉ ช ซ ฌ ญ
พุธ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
เสาร์ ด ต ถ ท ธ น
พฤหัส บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
ราหู ย ร ล ว
ศุกร์ ศ ษ ส ห ฬ อ
ขั้นต่อไปให้นับเรียงลำดับพี่น้องที่เกิดตามกันมาในเพศเดียวกัน เช่น มีพี่น้อง 5 คน และเป็นบุตรคนที่ 4 แต่ก่อนหน้านี้ มีพี่สาว 2 คน เมื่อนับเรียงเฉพาะเพศชายก็จะได้ว่าเป็น บุตรชายลำดับที่สองเป็นต้น จะเปรียบเสมือนคล้ายกับคนเกิดวันจันทร์ด้วย เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของพระจันทร์
ในการเรียงลำดับที่เกิดตามเพศให้จัดเรียง ดังนี้
ลำดับที่ 1 เปรียบเหมือนเกิดวันอาทิตย์
ลำดับที่ 2 เปรียบเหมือนเกิดวันจันทร์
ลำดับที่ 3 เปรียบเหมือนเกิดวันอังคาร
ลำดับที่ 4 เปรียบเหมือนเกิดวันพุธ
ลำดับที่ 5 เปรียบเหมือนเกิดวันเสาร์
ลำดับที่ 6 เปรียบเหมือนเกิดวันพฤหัส
ลำดับที่ 7 เปรียบเหมือนเกิดวันราหู
ลำดับที่ 8 เปรียบเหมือนเกิดวันศุกร์
หากครบ 8 แล้วให้วนไปตั้งต้นที่ 1 ใหม่ และอักษรที่เป็น บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี ก็ดูได้จากด้านบน เช่นเดียวกับคนที่เกิดในวันนั้น
จากนี้ไปจะอาศัยกฎมาตรฐาน 3 ข้อคือ
1. สำหรับผู้ชาย ให้ใช้อักษรที่เป็น เดช หรือ บริวาร ตามวันเกิดขึ้นต้น และต้องออกเสียงด้วย ส่วนผู้หญิง ให้ใช้อักษรที่เป็น ศรี หรือ บริวาร ตามวันเกิดขึ้นต้น และต้องออกเสียงด้วย
2. ให้งดเว้นอักษรที่เป็น กาลกิณี ตามวันเกิด มาใส่ไว้ในชื่อโดยเด็ดขาด
3. ให้งดเว้นอักษรที่เป็น กาลกิณี ตามลำดับเพศที่เกิด มาใส่ไว้ในชื่อโดยเด็ดขาด
ตัวอย่างเช่นผู้ชาย เกิดวันอาทิตย์ เป็นลูกคนที่ 6 เมื่อนับเรียงในเพศชาย เป็นลูกลำดับที่ 5 เมื่อเป็นดังนี้
อักษรที่ควรใช้
ตามวันเกิด คือ จ ฉ ช ซ ฌ ญ เพราะเป็นเดช และ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เพราะเป็นบริวาร
ตามลำดับที่เกิดคือ ย ร ล ว เพราะเป็นเดช และ ด ต ถ ท ธ น เพราะเป็นบริวาร
อักษรที่ต้องห้ามคือ ศ ษ ส ห ฬ อ เพราะเป็นกาลกิณีในวันเกิด และ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ กาลกิณีตามลำดับที่เกิด
นอกจากนี้ยังมีการตั้งชื่อเพื่อแก้ไขดวงชะตา หรืออาจเรียกว่า การตั้งชื่อเพื่อเสริมดวงชะตา
การตั้งชื่อเพื่อเสริมดวงชะตา วิธีที่ถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางโหราศาสตร์ ดูดวง ผูกดวงชะตาขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นต้องคำนวณหาจุดที่ดีเด่น หรือเรื่องที่ดีเด่นในดวงชะตา ของแต่ละคน รวมทั้งเรื่องร้ายที่จะมาคอยบั่นทอนดวงชะตา เมื่อพิจารณาดังนี้แล้วจึงนำมาประกอบร่วมกับหลักการดังกล่าวข้างต้น เพื่อกำหนดตั้งชื่อ ของเจ้าของดวงชะตาให้เด่น และมีท่านภาพขึ้นมาให้สมจริงกับดวงชะตา ส่วนในเรื่องที่ร้ายๆ ที่เกิดจากดาวร้ายต่างๆ ที่ไม่เกื้อหนุนชะตาก็จะเว้นไว้ไม่นำมาประกอบเป็นชื่อโดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับเป็นกาลกิณี
การตั้งชื่อด้วยวิธีนี้จะเป็นการช่วยลดข้อผิดพลาดเช่น คนที่ใช้นามเดช แต่เดชในดวงชะตา นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี ก็ทำให้เป็นคนเอาแต่ใจ เมื่อโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นคนเกเร ชอบใช้อำนาจข่มขู่ ชอบใช้อิทธิพล ไม่เกรงกลัวผู้ใด นำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัว
หรือคนที่ใช้มูลละมาตั้งชื่อ แต่ตำแหน่งของดาวมูลละหรือทรัพย์สมบัติไม่ดี ก็อาจจะทำให้การได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ มักได้มาในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม
ในการหาชื่อที่เป็นมงคล ท่านสามารถหาได้จากหนังสือพจนานุกรม และให้เลือกความหมายของชื่อที่เป็นมงคลเท่านั้น และมีหลักเพิ่มเติมอีกว่าชื่อของ เทวดา พระพรหม นางฟ้า เทพเจ้า หรือหัวใจคาถา ต่างๆ จะไม่นิยมมาตั้งเป็นชื่อ เพราะถือว่าเป็นชื่อที่ต้องห้าม ใช้ได้เฉพาะตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้เข้าใจ แต่เปรียบเสมือนว่าชื่อนั้นๆ ถูกจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้วห้ามใช้ซ้ำนั่นเอง
การตั้งชื่อแบบเลขศาสตร์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ เป็นการนำวิธีการเข้ามาเผยแพร่จากต่างประเทศ โดยมีการกำหนดค่าของตัวเลขซึ่งอ้างอิงให้ตรงกับอักษร แล้วนำผลรวมที่ได้มาตีความ ในช่วงแรกของการเผยแพร่นั้นวิธีการนี้ มีการกำหนดค่าตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งเรียนแบบมาจากความสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ ที่เป็นคู่มิตร เป็นกลาง หรือเป็นคู่ศัตรูกัน รวมทั้งท่านลักษณะของดาวเคราะห์ ซึ่งนับเป็นหลักการที่มีการคิดค้นเพิ่มเติมจากวิธีการเดิมที่มีมาแต่โบราณ แต่หากจะให้ดี และมีความแน่นอน ต้องนำผลที่ได้ไปตรวจสอบกับหลักการทางโหราศาสตร์ เพื่อที่จะพิสูจน์ทราบ ท่านภาพของตัวเลขที่ได้นั้นว่า จะดีจริงตามดวงชะตาหรือไม่ ซึ่งการใช้โหราศาสตร์เป็นหลักเปรียบเสมือน ว่าท่านต้องการเลือกเดินทางไปเส้นทางไหน จะเลือกเที่ยวบินอะไร ส่วนการใช้เลขศาสตร์เข้าประกอบ เปรียบเสมือนว่าก่อนขึ้นเครื่องบิน พนักงานต้องตรวจบัตรโดยสารว่าท่านได้ขึ้นเครื่องบินถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งการมองด้วยโหราศาสตร์ จะทำให้ท่านสามารถเลือกเที่ยวบินที่เหมาะสม กับความต้องการที่จะเดินทางได้มากกว่า มองเห็นทางเลือกได้ชัดเจน ถูกต้องดีกว่า ซึ่งหลังจากวิธีการทางเลขศาสตร์ผ่านการใช้งานมาหลายปี ก็เริ่มเห็นข้อผิดพลาด โดยจะเห็นว่าในปัจจุบัน มีการเขียนตำราออกมาขาย ในลักษณะที่เป็นการตั้งชื่อที่มีการ ผสมผสานหลักการโบราณ กับหลักของเลขศาสตร์มาขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ในการตั้งชื่อที่ถูกต้องไม่สามารถทิ้งหลักการทางโหราศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณได้ ทั้งนี้เพราะศาสตร์ในการทำนายทั้งหลายมีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์นั่นเอง แต่การที่ใครสังเกตอะไรได้ใหม่ๆ และนำไปสร้างเป็นทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมา เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องย้อนกลับมาค้นคว้าจากจุดกำเนิดในที่นี้คือการดูดวงด้วยโหราศาสตร์ โดยทำนายจากตำแหน่งการโคจรดวงดาวบนท้องฟ้านั่นเอง
สำหรับค่าตัวเลขที่ใช้เทียบกับอักษร ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ มีดังนี้
เลข 1 ก ด ถ ท ภ า ำ ฤ ฤา สระอุ ไม้เอก
เลข 2 ข ช ง บ ป สระเอ สระอู สระแอ ไม้โท
เลข 3 ฆ ต ฑ ฒ ไม้จัตวา
เลข 4 ค ธ ญ ร ษ สระอะ สระอิ สระโอ ไม้หันอากาศ
เลข 5 ฉ ฌ ณ น ม ห ฎ ฮ ฬ สระอึ
เลข 6 จ ล ว อ สระใอ
เลข 7 ซ ศ ส ไม้ตรี สระอี สระอือ
เลข 8 ผ ฝ พ ฟ ย ไม้ไต่คู้ ( ็)
เลข 9 ฏ ฐ สระไอ การันต์

เลข 1 A I J Q Y
เลข 2 B K R
เลข 3 C G L S
เลข 4 D M T
เลข 5 E H N X
เลข 6 U V W
เลข 7 O Z
เลข 8 F P
ตัวอย่างชื่อวโรตม์ พันทะวงศ์ แทนค่าชื่อ 6+4+4+3+5+9 = 31 สกุล 8+4+5+1+4+6+2+7+9 = 46
เมื่อนำชื่อ และนามสกุลมารวมกันได้เท่ากับ 31+46 = 77
จากนั้นจึงนำเลข 7+7 มาบวกกันได้เท่ากับ 14
และยังสามารถเอาตัวเลข 1+4 มาบวกกันได้อีกเพื่อให้เหลือเพียงหลักเดียวได้เท่ากับ 5
ในการทำนายจะใช้ตัวเลข 31, 77, 15 และ 5 มาใช้อ่านคำทำนาย การคิดค้นลายเซ็น และการดำเนินชีวิต เช่น หากพอใจในการดำเนินชีวิตตามคำทำนายของเลข 77, 14 และ 5 ก็ให้ใช้ลายเซ็นที่มีทั้งชื่อและนามสกุลรวมกัน แต่ถ้าชอบการดำเนินชีวิตแบบคำทำนายของเลข 31 ก็เซ็นแต่ชื่อไม่ต้องใส่นามสกุล
สมมติใช้ลายเซ็นที่มีทั้งชื่อและนามสกุล ให้สังเกตความเป็นไปในสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากเอกสารที่ได้ลงนามไป หรือ การดำเนินงานทุกๆ วันที่ 14 หรือวันที่ 5 จะได้รับผลดีจริงหรือไม่ เป็นต้น หรือการที่อยู่ในบ้านเรือน ที่มีผลรวมของเลขเป็น 14 หรือ 5 จะมีผลอย่างไร การทำงานอยู่ในสถานที่เลข 14 หรือ 5 การทำงานอยู่ตึกชั้น 14 หรือ 5 ดังนี้เป็นต้น แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องประกอบกับ ดวงชะตาว่าตามดวงชะตา นั้นดาวเคราะห์ที่แทนความหมาย 14 หรือ 5 นั้นอยู่ในสภาพอย่างไร ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่ดี จึงจะให้ผลดีจริง แต่หากอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี ก็ไม่อาจที่จะรับผลดีดังตามที่คาดหวังไว้ จะเป็นได้ก็แต่เพียงความหวังเลือนลางคลาดเคลื่อนไป คลาดเคลื่อนมาเท่านั้น
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การดูดวงที่แม่นยำจึงเปรียบเสมือนบันไดขั้นแรก ก่อนที่จะนำไปสู่เลขศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบันไดขั้นท้ายๆ เอาไว้ให้สังเกตผลของดวงชะตานั่นเอง

ที่มา:

วันอังคารที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

กลอนวันแม่แห่งชาติ

ไม่มีคนไหนที่รักลูกมากกว่าแม่
เป็นรักแท้แต่เริ่มลืมตาได้
สายโลหิตที่แม้สูญเสียไป
ก็เพื่อได้เห็นลูกเกิดขึ้นมา
ในยามนี้ลูกเหงาและเคว้งคว้าง
เดินตามทางที่แม่แสวงหา
อยากให้ลูกได้เป็นคนมีปัญญา
และก้าวหน้าไปทางวิชาชาญ
ลูกจะตั้งใจเรียนถึงที่สุด
แม้ใครฉุดลูกจะไม่เหลียวหลัง
ขอเพียงแม่ช่วยคอยเป็นกำลัง
คงถึงฝั่งนั้นได้ดังต้องการ
........................................................................................
ดอกมะลิ...ร้อยมาลัย...เตรียมให้แม่
จนใจแท้...แม่ไม่รู้...อยู่หนไหน
ขอฝากจิต...อธิษฐาน...ผ่านฟ้าไป
พร้อมมาลัย...จากใจฉัน...ถึงท่านเอย
........................................................................................
ทั้งชีวิต ที่ผ่านมา แม่ผู้ให้
แบบที่ใคร ไม่สามารถ มาเปรียบเทียบ
ทั้งส่งเรียน ทั้งส่งเงิน ทั้งเสบียง
ผ้าห่าเตียง ปูไว้ให้ รอกลับมา
แม่ทำงาน แสนเหนื่อยยาก ไม่เคยบ่น
กลับอดทน ทำทุกทาง หารายได้
ให้ลูกใช้ ให้ลูกจ่าย ตามสบาย
ลูกกลับควาย ไม่เคยนึก ถึงมารดา
ลูกติดเกม ลูกติดเพื่อน แม่ไม่บ่น
ลูกมีกิ๊ก ลูกมีแฟน แม่ไม่ว่า
ลูกกลับดึก ลูกกลับเช้า แม่ไม่ด่า
ลูกติดยา ลูกติดบอน แม่อภัย
วันแม่นี้ มีหนึ่งคำ อยากจะพูด
อยากจะจูบ อยากจะหอม อยากกอดแม่
แล้วก็บอก คำๆนี้ โดยไม่แคร์
ผมรักแม่ หนูรักแม่ ที่สุดเลย...
.................................................................