วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

ดินแดนอาทิตย์อุทัย (เมืองในฝัน)

Let's know about Japan

เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลทั่วไป
ภูมิประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ 377,835 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อ " ดินแดนอาทิตย์อุทัย " หมู่เกาะที่ทอดตัวยาวมีลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ ได้แก่ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู และมีเกาะใหญ่น้อยอีกกว่า 6,800 เกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น มีจังหวัดต่างๆ ทั้งหมด 47 จังหวัด (Prefecture) แบ่งเป็นเมืองต่างๆ รวมทั้งหมดมากกว่า 650 เมือง โดยมีโตเกียวเป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2411 ญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าไทยประมาณ 0.7 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าประมาณ 2 เท่า ภูมิอากาศและฤดูกาลภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากลักษณะพื้นที่ของประเทศที่ทอดตัวเป็นแนวยาว ทางเหนือ คือ เกาะฮอกไกโด มีอากาศหนาวจัดเกือบทั้งปี มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางใต้ คือคิวชูและโอกินาวาจะมีสภาพอากาศแบบเมืองร้อน และฝนตกชุกในฤดูฝน
ญี่ปุ่นมี 4 ฤดูกาล คือ
ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นฤดูที่สวยงาม ดอกไม้บานสะพรั่ง คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ และเป็นช่วงเปิดเทอม ช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม (29 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม) เป็นช่วง Golden Week ของชาวญี่ปุ่นที่จะได้หยุดพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม ช่วงต้นฤดูร้อนจะมีฝนตกแทบทุกวันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมอากาศร้อนชื้น และเป็นช่วงของการปิดภาคเรียนฤดูร้อน กิจกรรมที่นิยมกันมากที่สุดคือ การพักผ่อนตามชายหาด อาบแดด และแคมปิ้ง ในช่วงนี้ชาวญี่ปุ่นนิยมส่งการ์ดถึงกันและกันเพื่อถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูนี้ ซึ่งการ์ดนี้เรียกว่า Shochu mimai
ฤดูใบไม้ร่วง เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน – พฤศจิกายน เป็นฤดูที่แสนโรแมนติก ใบไม้สีเขียวสีแดงค่อยๆร่วงหล่นในบริเวณทั่วไป และฤดูนี้ยังเป็นช่วงชองการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียนอีกด้วย ในฤดูนี้จะมี 1 วันที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ซึ่งเรียกว่า Geshi
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ในช่วงนี้ภูมิภาคทางเหนืออย่าง ฮอกไกโด โตโฮกุ อากาศจะหนาวเย็นมากและมีหิมะตกหนัก แต่ในฤดูนี้มีเทศกาลที่มีความสำคัญที่สุดคือ ปีใหม่ คนในครอบครัวจะฉลองกันด้วย “บะหมี่ข้ามปี” หรือที่เรียกว่า Toshikoshi soba (ถือกันว่าบะหมี่นี้แทนความมีอายุยืน เพราะมีลักษณะเป็นเส้นยาว) และรอคอยฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ผู้ที่ตีระฆังนี้คือ พระและจะตีทั้งหมด 108 ครั้ง เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่า คนเราจะมีสิ่งไม่ดีอยู่ 108 อย่าง โดยเริ่มนับถอยหลังไปเรื่อยๆ เมื่อตีครบจำนวนจะเท่ากับว่า เราจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่กับสิ่งที่ดีๆ ประชากรญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127.5 ล้านคน (ตุลาคม 2545 ชาย 62.3 ล้านคน หญิง 65.2 ล้านคน) นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ศาสนาศาสนาสำคัญในญี่ปุ่นมีสองศาสนา ได้แก่ ชินโต และพุทธศาสนา แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันกล่าวว่าพวกเขาไม่มีความเชื่อในศาสนาใดเป็นพิเศษ แต่ส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติตามประเพณีและพิธีกรรมของทั้งชินโตและพุทธศาสนา ภาษาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการของญี่ปุ่น และในแต่ละภูมิภาคจะมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ภาษาอังกฤษ จะใช้บ้างในบางที่ เช่น สนามบิน โรงแรมใหญ่ๆ หรือสถานที่ราชการบางแห่งที่ต้องติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติ เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษเมื่ออยู่ชั้นมัธยมต้น แต่การเรียนการสอนมักจะเน้นเพื่อการสอบแข่งขันมากกว่าใช้ปฏิบัติจริง ดังนั้น แม้ว่าคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นจะใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น แต่ภาษาญี่ปุ่นยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น


ระบบการเมืองการปกครองประเทศญี่ปุ่นมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานอุตสาหกรรมการผลิต รถยนต์คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีที่สุด ในปี พ.ศ. 2539 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ รถโดยสารขนาดใหญ่ และรถบรรทุก ประมาณ 10.3 ล้านคัน มากเป็นที่สองของการผลิตรถยนต์ของโลกญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำของโลกในอุปกรณ์โทรคมนาคม ย่านอะกิฮาบาระ ในโตเกียว เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ "เมืองแห่งเครื่องไฟฟ้า" ที่มีร้านรวงขายเครื่องไฟฟ้ายาวสุดลูกหูลูกตาสังคมวัฒนธรรมทุกวันนี้ ครอบครัวญี่ปุ่นส่วนมากมีบุตรเพียงหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น ผลก็คือ อายุเฉลี่ยของประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจำนวน 20.014 ล้านคน แต่มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 64 ปีถึง 18.261 ล้านคน ผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นอาศัยอยู่โดยลำพัง และคนหนุ่มสาวแต่งงานช้าลง อายุเฉลี่ยของการแต่งงานของผู้ชายคือ 29.8 ปี และของผู้หญิงคือ 27.3 ปี ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเหลือให้ทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่วัฒนธรรมญี่ปุ่นประกอบขึ้นจากการผสมกัน ระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่ วัฒนธรรม ทางตะวันตกและตะวันออก ทางด้านอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน ยังมีร่องรอยของความ เป็นประเทศกสิกรรม หลงเหลืออยู่ แม้ว่าความเจริญทางอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ผ่าน มาจะทำให้ญี่ปุ่นได้แปรสภาพ เป็นประเทศที่มี ความก้าวหน้า ทางด้านอุตสาหกรรม สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก

ข้อมูลจำเพาะ
สกุลเงินญี่ปุ่นใช้เงินสกุลเยน เงิน 100 เยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.5 บาท เงินเหรียญที่ใช้มีตั้งแต่ 1, 5 , 10 , 50 , 100 และ 500 เยนตามลำดับ ธนบัตรมีตั้งแต่ 1,000 , 2,000 , 5,000 และ 10,000 เยนที่ญี่ปุ่นมักชำระด้วยเงินสด แต่ในปัจจุบันมีห้างร้านที่รับชำระด้วยบัตรเครดิต อีกทั้งยังมีร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิต (บัตรเงินสดที่สามารถชำระเงินได้ ณ ธนาคาร หรือไปรษณีย์) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเช็คเงินสดนั้นปกติแล้วจะไม่ค่อยนิยมใช้กันมากเท่าใดนัก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทั่วโลกรู้จักกันในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าครองชีพสูงระบบไฟฟ้าญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 100 โวลท์ ซึ่งแตกต่างจากเมืองไทย ซึ่งใช้กระแสไฟ 220 โวลท์ ฉะนั้นหากจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ที่ญี่ปุ่น จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องแปลงระบบไฟฟ้า ( Adapter) ปลั๊กไฟส่วนใหญ่จะเป็นแบบสองขาแบน น้ำประปา น้ำประปาที่ญี่ปุ่นสามารถดื่มจากก๊อกน้ำได้เลย เนื่องจากผ่านการบำบัดให้ใช้ดื่มได้ แต่คนญี่ปุ่นโดยทั่วไปมักไม่ดื่มน้ำเปล่าจากก๊อกน้ำ น้ำเปล่าที่จำหน่ายโดยทั่วไปในร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่จะเป็นน้ำแร่ ( Mineral water) ซึ่งมีราคาสูง โทรศัพท์โทรศัพท์สาธารณะในญี่ปุ่นสามารถพบได้ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีทั้งแบบหยอดเหรียญและใช้บัตรโทรศัพท์ ค่าบริการโทรศัพท์ในญี่ปุ่นนั้นจะคิดต่อนาที โทรศัพท์ภายในประเทศคิดนาทีละ 10 เยน ไม่ได้คิดต่อการโทรหนึ่งครั้งเหมือนในประเทศไทย หากต้องการโทรศัพท์ทางไกลจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น กด 001 + รหัสประเทศญี่ปุ่น + รหัสเมือง (ไม่ต้องกดศูนย์ ) + หมายเลขโทรศัพท์ 8 หลัก เช่น โทรไปโตเกียว กด 001 + 81 + 3 + 12345678เวลาทั่วประเทศญี่ปุ่น อยู่ในรัศมีเส้นแบ่งเวลาเดียวกันตลอดทั้งประเทศ คือ 9 ชั่วโมงเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช เวลาที่ญี่ปุ่นเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ( แผนที่ )website : http://www.th.emb-japan.go.jp/เลขที่ 177 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทรศัพท์ : 0-2207-8500 0-2696-3000 โทรสาร : 0-2207-8510 เวลาทำการ 8.30-12.00 น. และ 13.30-18.00 น. แผนกกงสุล แผนกหนังสือเดินทางญี่ปุ่น ใบรับรอง : 0-2207-8501 0-2696-3001 แผนกคุ้มครองคนญี่ปุ่น : 0-2207-8502 0-2696-3002หมายเลขฉุกเฉิน (โทรศัพท์มือถือ) : 081-846-8265 081-809-6074 แผนกวีซ่า : 0-2207-8503 0-2696-3003 โทรสาร : 0-2207-8511 เวลาทำการ 8.30-11.45 น. และ 13.30-16.00 น. สำนักข่าวสารญี่ปุ่นโทรศัพท์ : 0-2207-8504 0-2696-3004 โทรสาร : 0-2207-8512 เวลาทำการ 8.30-12.00 น. และ 13.30-16.30 น. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ปิดทำการวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกงสุล สถานทูตญี่ปุ่น สามารถสอบถามได้ด้วยภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2259-0444, 0-2259-0725 และ 0-2258-9915

การขอวีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa)
ระเบียบการขอวีซ่าสำหรับ "Pre-college Student" ที่ได้รับใบสถานภาพการพำนัก 1.หนังสือเดินทาง (ในวันยื่นขอวีซ่ามีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน และมีหน้าที่ไม่มีตราประทับมาก กว่า 2 หน้าขึ้นไป หากมีหนังสือเดินทางเล่มเก่า กรุณานำมาแสดงด้วย) 2.ใบคำร้องขอวีซ่า( แบบฟอร์มของสถานทูตฯ หรือพิมพ์มาจากโฮมเพจของสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ) 1 ใบ 3.รูปถ่าย (ขนาด 2 x 2 นิ้ว สีหรือขาวดำ ที่มีพื้นหลังเป็นสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ไม่มีการแต่งภาพถ่าย จะต้องเป็นรูปถ่ายที่ชัดเจน และถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน ห้ามใช้รูปถ่ายที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอล) 1 ใบ ( หากรูปถ่ายไม่ได้มาตรฐานจะไม่สามารถรับคำร้องได้ ) 4.ใบสถานภาพการพำนัก(Certificate of Eligibility) ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 5.ทะเบียนบ้าน ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 6.หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร จากสถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษามาครั้งล่าสุด ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 7. กรณีที่เคยผ่านการทำงาน ให้แสดง หนังสือรับรองการผ่านงาน จากหน่วยงานที่เคยทำงานในอดีต ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 8. ผู้ที่เดินทางเป็นครั้งแรก หากเคยเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล หรือผู้ที่ได้เปลี่ยนชื่อตัว-สกุลหลังจากเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งที่แล้ว ให้เตรียม เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล เช่นใบเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ใบสำคัญการสมรส ใบจดทะเบียนหย่า ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 9. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้ยื่นคำร้อง) ฉบับจริงและสำเนาทุกหน้า 1 ชุดกรณีผู้รับภาระค่าใช้จ่ายซึ่งรวมค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ผู้ยื่นคำร้องและค่าใช้จ่ายทั้งหมดส่งมาจากประเทศไทย นอกจากเอกสารในข้อ 1 ถึง 8 แล้ว ให้เตรียมเอกสารของผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 10.หลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับผู้รับภาระค่าใช้จ่าย เช่นทะเบียนบ้าน หรือใบสำคัญการสมรสเป็นต้น ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด 11.1 หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัทที่สังกัดของผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (ให้ระบุตำแหน่ง วันเริ่มทำงาน อัตราเงินเดือน) 11.2 กรณีที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ให้แสดง หนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์(เอกสารทุกอย่างจะต้องออกไม่เกิน 3 เดือน) ฉบับจริง 1 ชุด 12.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้รับภาระค่าใช้จ่าย) ฉบับจริงและสำเนาทุกหน้า 1 ชุด

หมายเหตุ:

1. หากเอกสารที่จัดเตรียมมาไม่ครบ ถูกต้องตามที่ระบุไว้ข้างต้น กรุณารับทราบด้วยว่าทางแผนกกงสุลฯ จะไม่สามารถรับคำร้องขอวีซ่าได้ 2. เอกสารอ้างอิงอื่นๆ อาจจะมีการขอเพิ่มเติมได้ ถ้าต้องการ จะแจ้งให้ทราบเป็นกรณีไป 3. รับคำร้องขอวีซ่า เปิดรับคำร้องขอวีซ่าในช่วงเช้าเวลา 8.00 - 11.45 น. เท่านั้น 4. สำหรับวันและเวลาในการคืนหนังสือเดินทาง(การฟังผลวีซ่า) สถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลในวันที่ยื่นคำร้อง กรุณาตรวจยืนยันวันที่คืนหนังสือเดินทางตามที่ระบุไว้ในใบนัดฟังผล โดยที่สถานทูตจะคืนหนังสือเดินทางให้ใช้เวลาเร็วที่สุดคือ อีกสองวันทำการถัดไปนับจากวันที่ยื่นคำร้องในเวลา 13.30-16.00 น. ในกรณีที่ได้รับการอนุมัติ วีซ่าจะติดในหนังสือเดินทาง

สำหรับผู้ยื่นที่ทางเจ้าหน้าที่คิดว่าอาจใช้เวลาพิจารณามากกว่าสองวันทำการถัดไป เช่น ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หรือตามวัตถุประสงค์ในการเดินทางหรือแล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในบางกรณีอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม, การสัมภาษณ์ผู้ยื่นขอวีซ่า หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบไปยังกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทางสถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลและระบุว่าให้รอ[ทางสถานทูตจะติดต่อทางโทรศัพท์ให้มาฟังผลในภายหลัง] ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจจะไม่สามารถพิจารณาวีซ่าได้ทันตามกำหนดการเดินทางที่ต้องการ ฉะนั้นกรุณายื่นขอวีซ่าล่วงหน้าหลายๆ วันก่อนการเดินทาง กรณีที่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากสถานทูตญี่ปุ่น หลังจากที่ยื่นวีซ่าไปแล้วเป็นเวลามากกว่า1สัปดาห์ ผู้ยื่นสามารถโทรศัพท์สอบถามได้โดยให้แจ้งหมายเลขใบนัดฟังผล(ตัวอักษรภาษาอังกฤษกับตัวเลข 5 หลัก) และหมายเลขบาร์โค้ด(ตัวเลข 8 หลัก) อนึ่ง กรุณารับทราบด้วยว่าการพิจารณาออกวีซ่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองวันทำการ จึงไม่สามารถออกวีซ่าให้ได้เร็วกว่านี้ตามคำร้องขอเป็นกรณีพิเศษ

เอกสารที่ใช้ประกอบ

(1) กรุณาระวังเกี่ยวกับเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอวีซ่าซึ่งจะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ถ้าเอกสารไม่ครบจะทำให้ไม่สามารถรับยื่นคำร้องได้และถึงแม้ว่าเอกสารที่ยื่นไว้จะครบสมบูรณ์ก็ตามไม่ได้ หมายความว่าทางสถานทูตจะพิจารณาออกวีซ่าให้เสมอไป (2)กรุณาเรียงลำดับเอกสารตามระเบียบการขอวีซ่าขณะยื่นคำร้อง (3) หากยื่นเอกสารปลอมหรือเท็จ ทางสถานทูต จะปฏิเสธการพิจารณาออกวีซ่า และถึงแม้ว่าเอกสารที่ยื่นไว้จะครบสมบูรณ์ก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการออกวีซ่าเสมอไป (4) โดยหลักการ เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องจะไม่คืนให้กับผู้ยื่น หากมี เอกสารใดๆก็ตามที่ต้องการขอคืนกรุณาแนบสำเนาและแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ขณะยื่นคำร้องทราบด้วย

อื่นๆ(1) สำหรับผู้ที่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อการพำนักอาศัยมากกว่า 90 วัน,การไปทำงานประเภทต่างๆ,ฝึกงานภาคปฏิบัติ,ศึกษาต่อมากกว่า3เดือน กรุณายื่นวีซ่าหลังจากได้รับ“ใบสถานภาพการพำนัก”จากกองตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่นแล้วเท่านั้นขั้น

ตอนในการดำเนินการขอใบสถานภาพการพำนัก กรุณาติดต่อสอบถาม โดยตรงที่ กองตรวจคนเข้าเมือง ประเทศญี่ปุ่น (เว็บไซต์กองตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่น http://www.immi-moj.go.jp/) (2) ในกรณีที่มีการยื่นขอวีซ่าเป็นหมู่คณะ คือมีวัตถุประสงค์และกำหนดการ เดินทางเหมือนกัน ขอแนะนำให้ยื่นวีซ่าพร้อมกันเป็นหมู่คณะไม่ควรแยกจากกัน (3) ในกรณีที่มีการปฏิเสธการออกวีซ่า ทางสถานทูตขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อธิบาย เหตุผล ถ้าต้องการยื่นวีซ่าอีกครั้งด้วยวัตถุประสงค์เดิม ไม่สามารถยื่นได้ ภายใน 6 เดือน หลังจากวันที่ได้รับการปฎิเสธวีซ่า (4) ขอแนะนำผู้ยื่นวีซ่า ให้ซื้อตั๋วเครื่องบินหลังจากทางสถานทูตอนุมัติวีซ่าแล้ว (ยกเว้นกรณียื่นวีซ่าทรานซิทเท่านั้น) ทางสถานทูตไม่สามารถรับผิดชอบใดๆได้ ในกรณีที่วีซ่าไม่ผ่านแต่ผู้ยื่นแจ้งว่าได้ซื้อตั๋วเครื่องบินก่อนแล้ว การอนุญาตให้ตัวแทนดำเนินการยื่นวีซ่าโดยหลักการผู้ยื่นต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง แต่ทางสถานทูตจะอนุญาตให้ผู้แทน (เช่นพนักงานของบริษัทที่ผู้ยื่นสังกัดอยู่ ญาติ และอื่นๆ) มาดำเนินการแทนได้เฉพาะกรณีดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ (1) ผู้ที่มีอายุไม่ถึง16 ปีบริบูรณ์หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นหรือผู้ทุพพลภาพ (2) ผู้ที่เดินทางด้วยวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ (3) ผู้ที่เคยได้รับวีซ่าและเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นมาแล้วภายในระยะเวลา5ปี นับจากวันที่ออกจากญี่ปุ่นครั้งล่าสุด(ตรวจสอบได้จากหนังสือเดินทางเท่านั้น) (4) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ (5) ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าที่เดินทางไปกับบริษัททัวร์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับทางสถานทูต อนึ่ง ผู้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย จะเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับประเทศหรือดินแดนในอาณัติซึ่งผู้ยื่นคำร้องพำนักอาศัยอยู่) กรุณาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกงสุล สถานทูตญี่ปุ่น สามารถสอบถามได้ด้วยภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2207-8503, 0-2696-3003 ค่าใช้จ่าย อัตราค่าธรรมเนียมวีซ่า ค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับคนไทย ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2008 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ วีซ่าทั่วไป 900 บาท วีซ่า Multiple 1,800 บาท (สำหรับการเดินทางหลายครั้ง) วีซ่าทรานซิท 220 บาท (สำหรับการเดินทางผ่าน) เวลาทำการของสถานทูต 08.00 น. – 12.00 น. (เปิดรับยื่นวีซ่า) เปิดรับคำร้องขอวีซ่าในช่วงเช้าจนถึงเวลา 11:15 น. เท่านั้น 13.30-16.00 น. (รับเล่ม)

วันสำคัญและวันที่ระลึกของประเทศญี่ปุ่น Special day of Japan
วันสำคัญของญี่ปุ่น วันที่ระลึกประหลาดๆ เป็นที่กล่าวขานกันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เก่งเรื่องการสร้างเทศกาลต่างๆ ทำให้ญี่ปุ่นมีวันสำคัญและวันที่ระลึกต่างๆที่แปลกประหลาดมากๆ เวลาบอกชื่อวันสำคัญหรือวันที่ระลึกของญี่ปุ่นให้คนประเทศอื่นฟัง เขาก็อาจจะงงได้ว่า มีวันแบบนี้ด้วยเหรอ ในบทความนี้จึงขอทำการเล่าสู่กันฟังว่าวันสำคัญและวันที่ระลึกต่างๆของญี่ปุ่นในปีๆนึงนั้นมีวันอะไรกันบ้าง และมีความสำคัญหรือความประหลาดอย่างไร ก่อนอื่นขอทำการแบ่งวันสำคัญของญี่ปุ่นออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการ (祝日) , 2. วันสำคัญที่ไม่ใช่วันหยุดแต่เป็นพิธีกรรม (行事) และ 3. วันที่ระลึกประหลาดๆ ((おもしろい)記念日) 1. วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการ (祝日) วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่น มีทั้งหมด 14 วันในญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการกำหนดวันสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมีความเห็นว่า หากมีวันหยุดในวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันจันทร์ จะทำให้การทำงานต่างๆขาดความต่อเนื่องได้ เพื่อส่งเสริมให้การทำงานต่างทั้งในส่วนราชการและเอกชนมีความต่อเนื่องมากที่สุด จึงตัดสินใจกำหนดวันสำคัญหลายๆวัน ให้เป็นวันจันทร์ ซึ่งจะทำให้มีวันหยุด 3 วันติดต่อกันคือ เสาร์ , อาทิตย์ และจันทร์ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าหยุดติดต่อกันหลายๆวันว่า Renkyuu (連休) หยุดติดต่อกัน 3 วัน ก็เรียกว่า 3連休 ใครที่สงสัยว่าทำไมญี่ปุ่นมีวันหยุดที่เป็นวันจันทร์เยอะจัง ก็คงหายสงสัยแล้วใช่ไหมครับ เป็นนโยบายส่งเสริมการทำงานของรัฐบาลนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการตัดวันสิ้นปี (New Year's Eve) นั่นคือวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ออกจากการเป็นวันหยุดราชการตั้งแต่ปี 2001 ด้วย
วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีดังนี้
01. วันขึ้นปีใหม่ (元旦 : อ่านว่า Gantan / ชื่อภาษาอังกฤษ : New Year's Day) ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันฉลองการเริ่มต้นของปี
02. วันบรรลุนิติภาวะ (成人の日 : อ่านว่า Seijin No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Coming of Age Day) ตรงกับ วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ของทุกปี ความสำคัญ: จนถึงปี 1999 วันบรรลุนิติภาวะ คือวันที่ 15 มกราคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันฉลองการบรรลุนิติภาวะของวัยรุ่นญี่ปุ่น เป็นวันที่ระลึกถึงการได้ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ของตนเอง ซึ่งต่อจากนี้จะต้องมีความพยายามและความรับผิดชอบต่างๆ และรู้จักวางแผนในชีวิตด้วยตนเอง หนุ่มสาวที่อายุครบ 20 ปี ในปีนั้น จะมีพิธีฉลองเกิดขึ้นที่อำเภอของเมืองที่ตนเองอยู่ด้วย เรียกว่า 成人式 (Seijin Shiki)
03. วันที่ระลึกการตั้งประเทศ (建国記念日 : อ่านว่า Kenkoku Kinenbi / ชื่อภาษาอังกฤษ : National Foundation Day) ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันระลึกถึงการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่น ส่งเสริมให้คนเกิดมีใจรักชาติ
04. วันวสันตวิษุวัต (春分の日 : อ่านว่า Shunbun No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : First Day of Spring / Vernal Equinox Day) ตรงกับประมาณวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ความสำคัญ: เป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งกลางวันจะเท่ากับกลางคืน เป็นวันสำหรับชื่นชมธรรมชาติ และเมตตาเอ็นดูต่อสิ่งมีชีวิต
05. วันสีเขียว (みどりの日 : อ่านว่า Midori No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Greenery Day) ตรงกับวันที่ 29 เมษายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันเกิดของจักรพรรดิองค์ก่อนในสมัยโชวะ (昭和時代) นั่นคือ จักรพรรดิโชวะ (昭和天皇) ปัจจุบันเป็นวันสำหรับระลึกถึงบุญคุณที่ธรรมชาติมีให้แก่มนุษย์
06. วันรัฐธรรมนูญ (憲法記念日 : อ่านว่า Kenpou Kinenbi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Constitution Day) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่ระลึกถึงการเริ่มใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ทำให้นึกถึงการเติบโตและพัฒนาของประเทศญี่ปุ่น
07. วันเด็ก (こどもの日 : อ่านว่า Kodomo No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Children's Day) ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่ฉลองความเป็นเด็ก และขอบคุณมารดา นอกจากนี้ยังเป็นวันเทศกาลเด็กผู้ชายด้วย (端午の節:TangoNo Sekku)

* หมายเหตุ วันหยุดยาวในช่วงนี้ คือช่วงราวๆวันที่ 3-5 พฤษภาคม เรียกกันว่า Golden Week (ゴールデンウィーク) ของญี่ปุ่น
08. วันแห่งทะเล (海の日 : อ่านว่า Umi No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Marine Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกรกฏาคม ของทุกปี  ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 20 กรกฏาคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันแห่งการขอบคุณถึงบุญคุณของทะเล และอวยพรขอให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศแห่งมหาสมุทรเจริญรุ่งเรืองต่อไป
09. วันเคารพผู้สูงอายุ (敬老の日 : อ่านว่า Keirou No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Respect-for-senior-citizens Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ของทุกปี ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 17 กันยายนของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันแห่งการเคารพรักผู้สูงอายุที่อยู่ในสังคมมาหลายปี และฉลองความมีอายุยืนยาว
10. วันศารทวิษุวัต (秋分の日 : อ่านว่า Shuubun No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : First Day of Autumn / Autumnal Equinox Day) ตรงกับประมาณวันที่ 23 กันยายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งกลางวันจะเท่ากับการคืน เป็นวันสำหรับเคารพบรรพบุรุษ และระลึกถึงผู้คนที่เสียชีวิตไปแล้ว
11. วันแห่งกีฬา (体育の日 : อ่านว่า Taiiku No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Sports Day / Health Sports Day) ตรงกับวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม ของทุกปี ความสำคัญ : จนถึงปี 1999 วันแห่งทะเล คือวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี และถูกเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ตั้งแต่ปี 2000 ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันที่ส่งเสริมให้คนรักกีฬาและมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
12. วันวัฒนธรรม (文化の日 : อ่านว่า Bunka No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Culture Day) ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันส่งเสริมให้คนรักอิสระเสรีภาพ และส่งเสริมวัฒนธรรม
13. วันขอบคุณแรงงาน (勤労感謝の日 : อ่านว่า Kinrou Kansha No Hi / ชื่อภาษาอังกฤษ : Labor Thanksgiving Day) ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันหยุดพักจากการทำงานมาตลอดปี ฉลองการผลิตที่ตนได้ทำ และส่งเสริมให้คนในประเทศญี่ปุ่นขอบคุณซึ่งกันและกัน
14. วันเกิดจักรพรรดิ์ (天皇誕生日 : อ่านว่า Tennou Tanjyoubi / ชื่อภาษาอังกฤษ : The Emperor's Birthday) ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันฉลองวันเกิดของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน

*หากวันหยุดราชการตรงกับวันอาทิตย์ วันถัดไป(วันจันทร์)จากวันนั้นจะเป็นวันหยุดราชการด้วย

2. วันสำคัญที่ไม่ใช่วันหยุดแต่เป็นพิธีกรรม (行事) วันเหล่านี้เป็นเทศกาลสำคัญต่างๆของญี่ปุ่น ที่ถือเป็นพิธีกรรม แต่ไมใช่วันหยุดราชการ
01. วันก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิ (節分 : อ่านว่า Setsubun) ตรงกับวันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นวันที่หว่านเมล็ดถั่วเพื่อกำจัดความชั่วร้าย และนำความสุขความโชคดีเข้าสู่ตนเอง
02. เทศกาลฮินะ (ひな祭り : อ่านว่า Hina Matsuri) ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี ความสำคัญ : เป็นเทศกาลของเด็กผู้หญิงเพื่อฉลองการประดับตุ๊กตา
03. วันแม่ (母の日 : อ่านว่า Haha No Hi) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
04. วันพ่อ (父の日 : อ่านว่า Chichi No Hi) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี
05. วันทานาบาตะ (七夕の日 : อ่านว่า Tanabata No Hi) ตรงกับวันที่ 7 กรกฏาคม ของทุกปี) ความสำคัญ : เป็นวันประดับดวงดาว เนื่องจากตำนานที่ว่าในปีหนึ่งดาวคนเลี้ยงวัว (牽牛星 : Kengyuusei) จะมีพบกับดาวหญิงทอผ้า (女織星) ที่ทั้งสองข้างของฝั่งแม่น้ำสวรรค์ (ทางช้างเผือก) เพียงครั้งเดียว ซึ่งคือในวันนี้
06. โอบ้ง (お盆 : อ่านว่า Obon) ตรงกับวันที่ 13-16 สิงหาคมของทุกปีโดยประมาณ (ในบางพื้นที่คือวันที่ 13-16 กรกฏาคมของทุกปี) ความสำคัญ : เป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมาที่โลกนี้ในช่วงต้นของช่วงเวลา และกลับไปที่โลกเก่าอีกครั้งในช่วงปลายของช่วงเวลา ส่วนมากบริษัทต่างๆจะหยุดยาวเพื่อให้พนักงานกลับไปทำความเคารพหลุมศพของบรรพบุรุษของตนเองที่บ้านเกิด
07. เทศกาล 753 (七五三 : อ่านว่า Shichigosan) ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายนของทุกปี ความสำคัญ : เป็นเทศกาลฉลองการเติบโตของเด็กชายและหญิงอายุ 3 ขวบ , เด็กชายอายุ 5 ขวบ และเด็กหญิงอายุ 7 ขวบ
3. วันที่ระลึกประหลาดๆ ((おもしろい)記念日) วันที่ระลึกประหลาดๆมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งวันเหล่านี้ ที่ได้รับการบัญญัติอย่างเป็นทางการจากสมาคมวันที่ระลึกแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本記念日協会) แล้ว จึงขอทำการแนะนำวันที่น่าสนใจบางวันที่เลือกมาจากแต่ละเดือนดังนี้
01. วันแห่งภาพยนตร์ (映画の日 : Eiga No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนไปดูภาพยนตร์
02. วันแห่งการจราจรปลอดภัย (交通安全の日 : Koutsuu Anzen No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนขับรถอย่างปลอดภัย ไม่ขับรถด้วยความเร็ว
03. วันแห่งข้าว (お米の日 : Okome No Hi) ตรงกับวันที่ 8 และ 28 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ระลึกถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่น
04. วันแห่งความรัก , ความปรารถนา และความกล้าหาญ (愛と希望と勇気の日 : อ่านว่า Ai To Kibou To Yuuki No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เมื่อ 14 มกราคม 1959 เป็นวันที่เฮลิคอปเตอร์ที่บินออกจากเรือสังเกตุการณ์ขั้วโลกใต้ที่ชื่อ Souya (宗谷) ได้บินจอดถึงฐานทัพโชวะ และพบว่าสุนัขทหารที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ที่ฐานทัพเมื่อปีก่อนหน้าจำนวน 15 ตัว มีชีวิตรอเพียง 2 ตัว คือสุนัขชื่อ ทาโร่ และ จิโร่ (タロ・ジロ)
05. วันแห่งแกงกระหรี่ (カレーの日 : Curry No Hi) ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทำและรับประทานแกงกะหรี่
06. วันแห่งการปวดหัว (頭痛の日 : Zutsuu No Hi) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา :รณรงค์ไม่ให้คนทำอะไรมากเกินไปจนปวดหัว

07. วันแห่งชาเขียว (抹茶の日 : Maccha No Hi) ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มชาเขียวเพื่อสุขภาพ
08. วันแห่งนามสกุล (苗字の日 : Myouji No Hi) ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นที่ระลึกสำหรับการเริ่มใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีเมจิที่ 8
09. วันวาเลนไทน์ (バレンティンディー : Valentine's Day) และ วันแห่งชอกโกแล็ต (チョコレートの日 : Chocolate No Hi) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่สืบทอดมาจากต่างประเทศ ที่หนุ่มสาวจะให้ของขวัญแก่กันเพื่อแสดงความรัก สำหรับในญี่ปุ่น เป็นวันที่ผู้หญิงจะให้ชอกโกแล็ตแก่ผู้ชายเพื่อแสดงความรัก ซึ่งแพร่หลายขึ้นมาจากการโฆษณาของบริษัทผลิตชอกโกแล็ตของญี่ปุ่น สมาคมชอกโกแล็ตและโกโก้ (チョコレート・ココア協会) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นมาเป็นวันแห่งชอกโกแล็ตด้วย
10. วันแห่งแมว (猫の日 : Neko No Hi) ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เนื่องจากแมวที่ญี่ปุ่นร้องว่า ニャー、ニャー、ニャー ขึ้นต้นด้วยคันจิที่เหมือนกับเลข 2 ด้วยกัน 3 อัน วางเรียงกันได้เป็น 222 ซึ่งแปลงเป็นวันที่ได้วันที่ 2/22
11. วันแห่งบันไดเลื่อน (エスカレータの日 : Escalator No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่มีการใช้บันไดเลื่อนขึ้นที่ห้างมิตสึโกชิ (三越) สาขา นิฮงบาชิ (日本橋) ในวันที่ 9 มีนาคม ปีไทโช ที่ 3
12. วันสีขาว (ホワイトディー : White Day) และ วันแห่งลูกกวาด (キャンディの日 : Candy No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่มีคู่กับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ชายให้ของตอบแทนแก่ผู้หญิงที่ให้ชอกโกแล็ตกับตนในวันวาเลนไทน์ โดยสิ่งของที่ให้จะต้องเป็นสีขาว ทางสมาคมลูกกวาดแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国飴菓子工業協同組合) ต้องการรณรงค์ให้คนให้สิ่งของเป็นลูกกวาด จึงตั้งวันนี้เป็นวันแห่งลูกกวาด (キャンディの日)
13. วันแห่งซากุระ (さくらの日 : Sakura No Hi) ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : สมาคมซากุระแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本さくらの会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการบานของดอกซากุระ ที่โดยเฉลี่ยจะบานเต็มที่ในวันนี้มากที่สุด
14. วันแห่งกระเทย (オカマの日 : อ่านว่า Okama No Hi) ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่อยู่ระหว่างกลางของวันเทศกาลลูกท้อ (桃の節句 : Momo No Sekku) เป็นวันสำหรับเด็กผู้หญิง ซึ่งคือวันที่ 3 มีนาคม (3/3) และวันเทศกาลเด็กผู้ชาย (端午の節句 : Tango No Sekku) ซึ่งคือวันที่ 5 พฤษภาคม (5/5) จึงตั้งวันที่อยู่กึ่งกลางนั่นคือวันที่ 4 เมษายน (4/4) เป็นวันสำหรับคนครึ่งหญิงครึ่งชาย นั่นคือกระเทย (คำว่า Okama แปลว่า กระเทย)
15. วันแห่งเซนต์จอร์ดี้ (サン・ジョルディの日 : St.Jordi's Day) ตรงกับวันที่ 23 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้หนังสือเป็นของขวัญแก่ผู้ชาย ซึ่งเกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหวของวงการสิ่งพิมพ์เมื่อปี 1987 โดยมีที่มาจากประเพณีของประเทศสเปน ในย่านบาร์เซโลน่า เพื่อต้องการชื่นชมนักรบเทพผู้ปกป้องเมืองชื่อ เซนต์ จอร์ดี้ ด้วยประเพณีที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้ของแก่ผู้ชาย
16. วันแห่งขยะ (ゴミの日 : Gomi No Hi) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทิ้งขยะโดยแยกชนิดของขยะอย่างถูกต้อง
17. วันแห่งนาโกย่า (名古屋の日 : Nagoya No Hi) ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ที่ทำการเมืองนาโกย่าตั้งวันนี้ขึ้นมาเมื่อปี เฮเซ ที่ 8 เป็นช่วงเทศกาลนาโกย่า (名古屋祭り)
18. วันแห่งการท่องเที่ยว (旅の日 : Tabi No Hi) ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น
19. วันแห่งรูปถ่าย (写真の日 : Shashin No Hi) ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : สมาคมรูปถ่ายแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本写真協会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการถ่ายรูป
20. วันแห่งนม (ミルクの日 : Milk No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มนม

21. วันแห่งอุด้ง (うどんの日 : Udon No Hi) ตรงกับวันที่ 2 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนรับประทานอุด้ง
22. วันแห่งเรือเหาะตีลังกา (ジェットコースターの日 : Jet Coaster No Hi) ตรงกับวันที่ 9 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่มีเรือเหาะตีลังกาติดตั้งในสวนสนุกที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 30
23. วันแห่งแฮมเบอร์เกอร์ (ハンバーガーの日 : Hamberger No Hi) ตรงกับวันที่ 20 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 20 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 46 เป็นวันแรกที่มีร้าน แมคโดนัล เปิดขึ้นในญี่ปุ่น ที่ชั้นหนึ่งของห้างมิทสึโกชิ (三越) ในย่านกินซ่า
24. วันแห่งหมากรุกญี่ปุ่น (マージャンの日 : Majyan No Hi) ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนเล่นหมากรุกญี่ปุ่น (麻雀)
25. วันแห่งคนอ้วน (デブの日 : Debu No Hi) ตรงกับวันที่ 8 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่ระลึกสำหรับคนอ้วน
26. วันแห่งเนื้อย่าง (焼肉の日 : Yakiniku No Hi) ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทานเนื้อย่าง ตั้งโดยสมาคมเนื้อย่างแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国焼肉協会)
27. วันแห่งผัก (野菜の日 : Yasai No Hi) ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทานผัก
28. วันเกิดโดราเอม่อน (ドラえもんの誕生日 : Doraemon No Tanjyoubi) ตรงกับวันที่ 3 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันแรกที่การ์ตูนเรื่องโดราเอม่อนถูกเขียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน ปีโชวะที่ 45
29. September Valentine's Day (セプテンバーバレンタイン) ตรงกับวันที่ 14 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : วันครบครึ่งปีพอดีหลังจากวัน White Day (14 มีนาคม) ซึ่งหากผู้ชายถูกผู้หญิงที่ตนตกลงยอมรับความรักเลิกในวันนี้ ก็จะถือว่าไม่เป็นอะไร

30. วันแห่งเหล้าญี่ปุ่น (日本酒の日 : Nihonshu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มเหล้าญี่ปุ่น
31. วันแห่งสุนัข (犬の日 : Inu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมให้คนรักและระลึกถึงสุนัข
32. วันแห่งอพาร์ตเม้นท์ (アパートの日 : Apartment No Hi) ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 6 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 43 เป็นวันแรกที่มีอพาร์ตเม้นท์ตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในย่านอุเอโนะ (上野) ในโตเกียว
33. วันป๊อกกี้และปริทซ์ (ポッキー&プリッツの日 : Pocky&PRETZ No Hi) ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : กูลิโกะ บริษัทผลิต ป๊อกกี้และปริทซ์ ตั้งวันป๊อกกี้และปริทซ์ ขึ้นมาเมื่อ ปีเฮเซที่ 11 เดือน 11 วันที่ 11 หากนำวันและเดือนและปี มาเขียนเรียงติดกัน ก็จะได้เป็น 111111 ซึ่งเหมือนกับแท่งป๊อกกี้และปริทซ์ 6 แท่ง ในโฆษณาของป๊อกกี้เอง ก็มีการโชว์แท่งป๊อกกี้ 4 แท่งในมือของพรีเซนเตอร์ด้วย (เพราะว่าปีเฮเซที่ 11 เลยมาแล้ว) จุดประสงค์ที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา คงไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการส่งเสริมการขายป๊อกกี้ มีการจัดแคมเปญต่างๆเกี่ยวกับป๊อกกี้และปริทซ์ในวันที่11/11 ของทุกๆปีด้วย
34. วันแห่งโรงแรม (ホテルの日 : Hotel No Hi) ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 20 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 23 เป็นวันแรกที่ Teikoku Hotel (帝国ホテル) โรงแรมแห่งแรกในญี่ปุ่นเปิดให้ใช้บริการ
35. วันแห่งไก่ทอด (フライドチキンの日 : Fried Chicken No Hi) ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : 21 พฤศจิกายน ปีโชวะที่ 45 เป็นวันแรกที่มีร้านไก่ทอด เคนตักกี้ เปิดในญี่ปุ่น ที่นาโกย่า
36. วันแห่งโซบะ (そばの日 : Soba No Hi) ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีประเพณีการทานโซบะข้ามปี (年越しそば : Toshikoshi Soba) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นเป็นวันรณรงค์การทานโซบะ

ที่มา

http://campus.sanook.com/education/oversea/read_03774.php